Appreciative Inquiry  บทความนี้ ถูกคัดลอก และนำมาอธิบายซ้ำ
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND

 

ความท้าทายอย่างหนึ่งในชีวิตการเป็นนักปฏิบัติ
นักเรียนรู้ AI ของผมคือ มีคนที่เก่งมากมาอยู่ตรงหน้า
ที่อยากทำ AI แต่เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งว่า AI มันดีไหม
ยังไม่พอครับ … ยังเก่งในสาย Problem-based อย่างกลุ่ม QC กับ TQM

มีอยู่รายหนึ่งเป็นเภสัชกร เขามีหน้าที่หลักคือผสมยาคีโม ให้หน่วยรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลครับ
สุภาพสตรีท่านนี้ประสบความสำเร็จในการเรียน QC ครับ
ซึ่งจะว่าไปแล้วในมุมมองของผมเป็นอะไรที่ตรงข้ามกับ AI อย่างสุดขั้วครับ
ผมชวนเขาทำ AI แบบเริ่มต้นด้วย Discovery เลยแต่เธอก็ยังยืนยันว่าจะเริ่มจาก Pareto
หาปัญหาต่อด้วยก้างปลาครับ นี่ไม่เป็นไร

 

แต่ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่ผมเคยได้ยินมาเรื่อง “จิตวิทยาการขอ” ครับ

 
มีการทดลองครั้งหนึ่ง มีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตามหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง
โดยเข้าไปคุยกับลูกบ้านทุกคนว่าเขาจะขอติดป้ายใหญ่หน้าหมู่บ้าน
เรื่องรณรงค์ให้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปรากฏว่าลูกบ้านส่วนใหญ่ มองว่า เป็นเรื่องที่ดีนะ แต่ให้นำป้ายไปติดที่อื่น
ต่อมาทีมเจ้าหน้าที่ทดลองไปอีกรอบ
คราวนี้  ขอติดสติ๊กเกอร์เล็กๆ ที่แทบมองไม่เห็นที่หน้าบ้านทุกคน
ส่วนใหญ่ก็ยอมให้ติด
ต่อมาลองไปขออนุญาตให้ติดป้ายใหญ่ๆ แบบเดิมที่หน้าหมู่บ้าน
คราวนี้เกิดเหตุการประหลาดครับ
ลูกบ้านส่วนใหญ่กลับเปลี่ยนใจยอมให้ติด

 

ย้อนกลับมาที่เคสเภสัชกรหญิง
ผมนึกถึงเรื่องนี้ ก็เลยบอกเธอว่าไม่เป็นไร
คุณก็ทำแนว QC ไปเลยผมไม่ขัด
แต่ตอนท้าย … ตอนที่เป็นมาตรการตอบโต้
ก็ลองทำเป็นแบบ AI ครับ
ซึ่ง เธอก็ OK

 
ในที่สุดเราก็ได้กรณีศึกษาที่สามารถลดของเสียได้จริงครับ
ภายหลังเธอเลยหันมาชอบ AI
ส่วนเราก็ได้ Case study ประเภท QC-based  หรือ Problem-based AI ไปเรียบร้อยครับ
กลายเป็นว่าการที่ผมยอมถอยบ้าง
กลับกลายเป็นการส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความรู้
ผู้เรียนก็ Happy แถมยังได้ AI ในมุมมองใหม่ๆอีกครับ

 

 

จากเหตุการณ์นี้ทำให้ผมเห็นคุณค่าของการ “ขอ” อย่างสร้างสรรครับ
ผมอยากถ่ายทอดเรื่องนี้ ไว้เป็นกำลังใจสำหรับท่านที่คิดดี แต่ทำตามที่คิดไม่ได้
ลองขอแค่ “นิด” เดียวก็พอ อาจสร้างความต่างอย่างคาดไม่ถึง