AI เปลี่ยนจุดแข็ง เป็นจุดแกร่ง : เกริ่นนำ

Appreciative Inquiry เปลี่ยนจุดแข็ง เป็นจุดแกร่ง
โดย อ.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล (ALMON)
กรรมการบริหาร บริษัท ABC CLUB จำกัด
Tel: 080-419-8224
clubpattana@hotmail.com
www.facebook.com/clubpattana

…..

“อาจารย์คะ ดิฉันมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ”
สุภาพสตรีท่านหนึ่ง ทักผมมากลางวง ระหว่างพักเบรกงานสัมมนา ที่จัดขึ้นงานหนึ่ง

“ยินดีครับ หากผมช่วยคุณได้”
ผมตอบเธอหลังจากทานเค้กที่ทางโรงแรมจัดให้ก้อนนั้นหมดพอดี

“อาจารย์คะ หนูชอบที่อาจารย์สอนมากเลยค่ะ ว่าแต่ มันจะช่วยเรื่องของหนูได้จริงๆ หรือคะ”
เธอมีท่าทางไม่ค่อยมั่นใจเท่าใดนัก กับสิ่งที่ผมบอกเธอไปตอนช่วงเช้า

“ไหนลองว่ามาสิครับ เผื่อผมจะช่วยได้” ผมถามเธอ

“อาจารย์คะ หนูมีลูกน้องหลายคนนะคะ แต่มีคนหนึ่ง ทำงานช้ามากๆ
ทำงานไม่ทันใจ ไม่ได้ดั่งใจหนูเลยค่ะ หนูควรทำยังไงกับเขาดีคะ”

เธอถามผมด้วยสีหน้าและแววตาที่มุ่งมั่นมากๆ
เหมือนกับว่า ผมสามารถเสกให้ลูกน้องเธอคนนี้ ได้ดั่งใจเธอ ได้ในพริบตา

“เอาอย่างนี้ครับ ผมขอถามกลับ สักเล็กน้อยนะครับ …..
มีครั้งไหนบ้างที่ ลูกน้องคุณคนนี้
ทำงานทันใจ ได้ดั่งใจ ทำงานเร็วที่สุด บ้างไหมครับ เล่าให้ผมฟังหน่อย”

ผมถามกลับไป ในรูปแบบของ “การโค้ชเชิงบวก”
แต่เธอใช้เวลาคิดอยู่สักพักใหญ่ และ ตอบกลับมาว่า

มีอยู่ครั้งหนึ่งค่ะ อาจารย์ เจ้านายให้งานหนูมา ต้องทำเสร็จก่อนสุดสัปดาห์
ที่เหลือเวลาอีกแค่ 3-4 วัน เท่านั้น หนูเลยต้องหาคนมาช่วย และ
ลูกน้องหนูคนนี้ ว่างช่วงนั้นพอดีหนูเลยบอกเขาไปว่า
“ช่วยพี่ทำงานนี้ให้เสร็จ ภายใน
2 วัน ทำตามขั้นตอนนี้เลย 1..2..3..4..5 …
ช่วยพี่ด้วยนะ งานพี่เอง

ผมตอบกลับไปเลยครับว่า
“นี่ยังไงครับ AI ที่คุณจะต้องทำต่อไป
ครั้งต่อไปหากคุณจะต้อง มอบหมายงานให้ลูกน้องคนนี้
ให้บอกไป 2 อย่างครับ คือ

  1. เงื่อนเวลา เช่น ให้เสร็จภายใน กี่วัน
  2. เงื่อนวิธีการ บอกวิธีการทำแบบละเอียด
  3. เงื่อนไขที่ว่า “งานพี่เอง

ผมรับรองครับว่า สักพักหนึ่ง คุณจะสามารถ “แก้ปัญหา” หรือ “พัฒนา”
ลูกน้องของคุณคนนี้ให้ทำงาน “ทันใจ” และ “ได้ดั่งใจ” คุณอย่างแน่นอนครับ

“เออ จริงสิคะ เดี๋ยวหนูจะลองไปใช้ดูค่ะ
ว่าแต่ อาจารย์คะ สิ่งที่อาจารย์ทำมันดูง่ายจัง
มันเรียกว่าอะไรคะ หนูอยากรู้ค่ะ”
เธอเริ่มเข้าใจในสิ่งที่ผมสอนเมื่อเช้า แต่เริ่มอยากรู้ให้มากขึ้น เพราะความง่ายที่เธอได้จากมันครับ

“มันเรียกว่า AI หรือ Appreciative Inquiry ครับ
ผมตั้งชื่อให้มันว่า “การค้นหาเชิงบวก” หรือ
เรียกสั้นๆ ว่า “การจับถูก” ก็คือ “การไม่จับผิด” นั่นเองครับ
ผมตอบไปเหมือนที่ผมสอนทุกครั้งครับ และดูสีหน้าเธอ จะเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วกับ นิยามง่ายๆ ของมัน

…..

Appreciative Inquiry เหมือนกับศาสตร์อีกหลากหลายแขนง

  • AI เหมือน การโค้ช (Coach) ตรงที่การตั้งคำถาม เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหา
  • AI เหมือนกับ NLP เพราะเป็นแขนงของจิตวิทยาเชิงบวกเช่นกัน
  • AI เป็นกระบวนการของการคิดเชิงบวก ทำให้ “การคิดบวก” เป็นระบบมากขึ้น
  • AI จะเอาไปใช้ในการบริหารงาน Management หรือ การพัฒนางาน Development ก็ย่อมได้ หากเข้าใจวิธีการ
  • AI สามารถใช้ “แก้ปัญหา” ได้ ด้วยการพลิกมุมมองของปัญหานั้น ๆ ใหม่
Facebook Comments Box