Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (11)

Appreciative Inquiry  บทความนี้ ถูกคัดลอก และนำมาอธิบายซ้ำ
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND

https://www.gotoknow.org/posts/319280

 

 Appreciative Coaching 

เวลาผมทำโครงการ AI ร่วมกับผู้ประกอบการและนักศึกษา
พอสนิทๆกันแล้วมักมีเรื่องส่วนตัวต้องมาคุยกันครับ
บางเรื่องเป็นเรื่องที่อาจเป็นเรื่องที่มีผลต่อความรุ่งเรือง
หรือความยุ่งเหยิงในอนาคตของบริษัท

 

กรณีหนึ่งคือ “หุ้นส่วน”
หลายคนตอนเริ่มก่อร่างสร้างตัวจะเริ่มมีคำถาม
ไม่ว่าจะถูกชวนไปลงทุน หรือชวนใครมาลงทุน
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการถูกชวนไปลงทุน
ผมจะถูกถามว่าอาจารย์คิดยังไง

 

สิ่งที่ผมได้ให้คำแนะนำคือ
“ให้สังเกตลักษระการฟังของคนนั้น เขาฟังคุณอย่างไร
ถ้าเป็นประเภทที่ ฟังเพื่อทำความเข้าใจกับคุณ แล้ววกเข้าทางของเขา”
นั้นไม่ใช่แน่นอนครับ

 

lecture-1847848_1920

 

 

ตามประสบการณ์ของผมที่คุยกับผู้ประกอบการมา
ประเภทหลังมักเกิดปัญหาในภายหลัง
เป็นการคุยลักษณะเร่งเร้า ไม่ได้ฟังจริงๆครับ
พูดง่ายๆ ผมกำลังจะบอกว่าใครที่คุยแบบ Dialogue
เป็นโดยธรรมชาตินี่เป็นผู้ร่วมงานและหุ้นส่วนที่ดีครับ
เท่าที่ผมให้ผู้ประกอบการนึกย้อนไป
(บางคนเคยเจ๊งมาเพราะหุ้นส่วนประเภทฟังแบบไม่ฟังนี่แหละครับ)
ก็เจอแบบที่ผมตั้งข้อสังเกตจริงๆ

 

รายหนึ่งเคยชวนผมไปทำโนน ทำนี่ แต่ผมก็สังเกตว่าเขาไม่ฟังจริงๆ ครับ
เขาให้ผมเล่าไปเล่ามา สุดท้ายก็จะตบเข้าทางของเขาทุกทีไป ผมก็ไม่เอาด้วยครับ
จากนั้น ผมได้ข่าวมาว่าบริษัทปิดไปหลังจากที่เปิดมาได้ ปีเดียว

 

เรื่องนี้เชื่อมโยงได้ถึงคำว่า ยั่งยืนครับ
หลายครั้งบอกได้เลยว่าถ้าเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหาร ฟังไม่เป็น
หรือฟังแล้วหาทางเล่าความสำเร็จ หรือ โชว์พาว เมื่อไร อันนั้นขาลงทั้งนั้นครับ

 

ผมอยากจะบอกว่า PMQA อาจประเมินเพียงข้อเดียวก็พอครับว่า
ผู้บริหารและคนในองค์กร “ฟังเป็นหรือเปล่า” ข้อเดียวก็พอแล้วครับ

Facebook Comments Box