ประเภทของคน โดยแบ่งตาม ความรู้และอิทธิพลต่อสังคม

 

ประเภทของคน โดยแบ่งตามความรู้และอิทธิพลต่อสังคม

โดย วชิราพร ชัยวรมุขกุล (เจ)
Tel. 089-712-7172
clubpattana@hotmail.com

……………………………………………………………………………………………………

 

ก่อนหน้านี้ ได้มีโอกาสคุยกับผู้จัดการสถาบันแห่งหนึ่ง
เราถกกันว่า มันเป็นอะไรที่ยาก
ที่ผู้บริหารระดับสูงๆ
จะเข้าใจความคิดความอ่านของลูกน้องขั้นปฏิบัติหน้างาน
ทำนองเดียวกัน
เขาบ่นเรื่องว่า ผู้บริหารระดับสูง เรียกเข้าไปคุย
เรื่องแผนการดำเนินงาน การตั้งเป้า KPI ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่าย

จึงคิดถึงเรื่องนี้ขึ้นมา
เจถามเขาไปว่า
“ท่านคิดว่า ประเทศไทย สัดส่วนของคนมีฐานะ
ต่อคนชนชั้นกลาง ต่อคนยากจน คือประมาณเท่าไร”

 

แม้ว่า คำตอบที่ได้ เป็นสัดส่วนที่ไม่ค่อยจะชัดเจน
แต่เจก็สรุปว่า
มันก็เหมือนกัน กับ ความรู้ของคนไทยนั่นเอง
คนมีความรู้ระดับลึกๆ มีน้อยนิด
คนมีความรู้กว้างๆ ทั่วไป มีมาก  คือชนชั้นกลาง
ส่วนคนไม่มีความรู้ มีเยอะ เปรียบเหมือนจำนวนคนยากจนในประเทศ

 

จากการโค้ชคนหลายๆ กลุ่ม หลายๆ องค์กร
ทำให้รู้ว่าคนเรามีหลากหลายประเภท
หากได้มีการจัดรวมกลุ่มคน ตามความรู้ ลักษณะที่ใกล้เคียงกัน เข้าด้วยกัน
ย่อมทำให้เราทราบ (คร่าวๆ ) ว่า เราจะมีวิธีในการจัดการ
ขอความร่วมมือ และรับมือกลุ่มแต่ละกลุ่มได้อย่างไร

 

 

กลุ่มแรก
เป็นประเภทมีความรู้มาก เข้มงวดต่อตนเอง และเข้มงวดต่อผู้อื่น
สอน สั่ง และมีอิทธิพลควบคุมผู้อื่นได้
ลักษณะนี้ เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์
ถ้าเราไม่ใช่ดวงอาทิตย์แบบเดียวกันกับคนกลุ่มนี้  หากอยู่ใกล้มาก
เราจะพบว่า มันร้อน

กลุ่มนี้ส่วนมากแล้ว จะเป็นชั้นบรมครู ปรมาจารย์ มีความรู้มากๆ ผู้บริหารระดับสูงสุด
หากต้องการรับมือ หรือขอคำแนะนำ เราจำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงตรรกะที่ชัดเจน
ที่สะท้อนถึงลักษณะที่เชื่อถือได้ คนประเภทนี้
เราจะพบว่า แม้ช่วงอยู่ใกล้ เราก็ร้อนไม่สบายกายและใจ
แต่หากอยู่ห่างไกลออกไปไม่มีดวงอาทิตย์ ก็จะพบว่า เราอยู่ไม่ได้
คนประเภทนี้ มีบทบาท มีอิทธิพลต่อกลุ่มในสังคมมาก

 

conductor-2012040_1280

 

 

 

ประเภทที่สอง เป็นประเภทผู้ที่มีความรู้ที่เข้มงวดต่อตนเอง แต่ไม่เข้มงวดต่อผู้อื่น
เปรียบเสมือนดวงจันทร์ ที่ส่องสว่างยามค่ำ แต่ไม่ได้ส่งอิทธิพลต่อคนทั่วไปมาก
ไม่ได้ร้อนแรง แต่ก็ไม่หนาวเหน็บ
คนประเภทนี้ เราควรนำพา หรือเปิดโอกาสให้เข้ามามีบทบาท
มีส่วนร่วมต่อไปให้มากๆ เพราะว่า ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ในตัวเขา
ยังไม่ได้ถูกนำออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ได้อย่างเต็มที่
(ซึ่งผู้บริหารกลุ่มนี้ ก่อนที่จะเกษียณหรือย้ายออกไป
จำเป็นต้องถอดบทเรียนออกมา เป็น KM เก็บไว้ในห้องสมุดองค์กร)
ฉะนั้น คนกลุ่มนี้อาจกลายเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลได้มากในอนาคต
หากมีเวทีให้เขาได้แสดงความรู้ออกสู่สังคม
กลุ่มนี้ ความรู้ไม่ได้แตกต่างจากคนกลุ่มแรกเท่าไรนัก แต่สิ่งที่ต่างคือ
เรานำพาตัวเองเข้าใกล้คนกลุ่มนี้ ได้ง่ายกว่าคนกลุ่มแรก
เขาจะเป็นโค้ช เป็นคนให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษา มากกว่าจะสอน และสั่ง และควบคุม

 

 

 

ประเภทที่สาม ประเภทที่ไม่มีความรู้มาก
ไม่เข้มงวดต่อตนเอง แต่ไปเข้มงวดต่อผู้อื่น
เปรียบได้เหมือนกับไฟสูงของรถบรรทุก ที่ให้ความสว่าง
ส่องกราดทั่วทั้งถนน ซึ่งแลเห็นได้แต่ไกล
แต่แสงนั้น ช่างเบลอ และน่ากลัว เพราะว่ามันเลือนลาง
คนประเภทนี้ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเข้าใกล้
คนประเภทนี้มักมีอำนาจและส่งอิทธิพลต่อคนอื่นในทางลบเสมอ
หรือที่เราเรียกว่า บาปมิตร
ควรรักษาระยะห่างให้พอดี
เปรียบได้ว่า ถ้าเราเป็นรถเก๋ง เราก็ต้องขับคนละเลน
แต่อย่านึกสวนทางหรือปะทะ ต่อรถบรรทุก

 

 

 

ประเภทที่สี่ เป็นประเภทที่ไม่เข้มงวดต่อตนเอง และไม่เข้มงวดต่อผู้อื่น
หายนะของธุรกิจคือ ได้ ผู้บริหารระดับสูงที่มีอุปนิสัยแบบนี้ (ซึ่งพบได้น้อยมาก)
คนไทยเป็นลักษณะกลุ่มที่ สามและกลุ่มนี้กันค่อนข้างเยอะ
พนักงานบริษัท  พนักงานระดับปฏิบัติการ
worker  ผู้ใช้แรงงาน รับจ้าง
คนตกงานไร้การงานทำ
คนประเภทนี้ ไม่รู้ทิศทางของตนเองในอนาคตที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง
ปล่อยให้ชะตากรรมพาไป แทนที่จะเป็นผู้กำหนดดวงชะตาตัวเอง
เสมือนเรือหาปลาที่มีโคมดวงเล็กๆ ติดไปด้วยตอนกลางคืน
จำเป็นที่ต้องถูกชักนำ ให้เข้าสู่ประภาคารที่แข็งแรงมั่นคง
และเต็มไปด้วยแสงสว่างของดวงไฟ

ทำให้ไม่มีแรงบันดาลใจ
ไม่มีแรงขับเคลื่อนภายใน ให้ชีวิตในวันพรุ่งนี้ สนุกและตื่นเต้นมากกว่า

 

เมื่ออยู่ท่ามคนกลุ่มนี้ แม้ว่าไม่มีพิษภัยก็จริง แต่ก็ไม่มีอะไรที่ดีขึ้น
คนกลุ่มนี้ อาจสอนไม่ง่ายนัก เนื่องด้วยทรัพยากรทางปัญญาที่เขามี
แต่ก็สอนไม่ยากเกินกว่าจะเข้าใจได้
ฉะนั้น หากชักจูงไปในทางที่ดีและวางกุศโลบายที่เหมาะสม
ก็จะสามารถฝึกพัฒนาให้เป็นผู้มีความรู้ได้ในสักวันหนึ่ง

Facebook Comments Box