AI เปลี่ยนจุดแข็ง เป็นจุดแกร่ง : นิยามของปัญหา

Appreciative Inquiry กับ นิยามของปัญหา
โดย อ.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล (ALMON)
กรรมการบริหาร บริษัท ABC CLUB จำกัด
Tel: 080-419-8224
clubpattana@hotmail.com
www.facebook.com/clubpattana

เวลาที่ต้องทำงานอะไรบางอย่าง เราเคยเจอ “ปัญหา” อะไรอย่างนี้ไหม

  1. ไม่มีเวลาทำงาน – No Time
  2. ไม่มีเงินทุน – No Money
  3. ไม่มีคนช่วย – No Man
  4. ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี – No Method
  5. ไม่รู้ว่าจะใช้อะไรช่วย – No Machine/Material
  6. ไม่เริ่มซะที – Not Start
  7. ไม่รู้ว่า มันเป็น “ปัญหา” ด้วยเหรอ
  8. ปัญหา ปัญหา ปัญหา

หากเจอ “ปัญหา” ข้อใด ข้อหนึ่ง ลองใช้ AI “พลิก (แก้) ปัญหา” ให้คุณดูสิครับ

หรือแม้แต่ หากคุณคิดว่า ปัจจุบัน “ไม่มีปัญหา” อะไรนี่ ก็อยู่สบายๆ นั่งทำงาน
แบบ เช้าชาม เย็นชาม ก็ดีอยู่แล้ว

เราก็บอกได้ตามตรงว่า AI ก็สามารถ “พลิกชีวิต” ของคุณ ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่แพ้กัน

คุณเอ เป็นคนหนึ่งที่คิดว่า “ไม่มีปัญหา” อะไรเลย

ชีวิตอยู่ไปวันๆ รอเวลาทำงานตอนเช้า กลับบ้านตอนเย็น
เดินทางฝ่ารถติด ตอนหัวค่ำ เพื่อพักผ่อนร่างกาย ที่จะมาฝ่ารถติด ตอนเช้าของอีกวัน

เป็นแบบนี้มา เกือบ 10 ปี แล้ว ก็ยังคิดว่า ตัวเอง ไม่เห็นมี “ปัญหา” อะไรเลย

…..

เราเคยบอก คุณเอ ว่า “คุณเอ คุณนั่นแหล่ะ มีปัญหา”

เอาเข้าแล้วไงครับ เขาเถียงกลับอย่างนอบน้อมทันทีว่า
“ผมมีปัญหาตรงไหน ครับอาจารย์”

เราฮุคกลับจนเขาหน้าหงาย “คุณไม่มีเป้าหมายในชีวิต”
วันนั้นทำให้เขามานั่งคิดใคร่ครวญว่า
การไม่มีเป้าหมายในชีวิต ทำงานไปวันๆ นาน 10 ปี
มันเป็น “ปัญหา” ด้วยเหรอวะ

ตกลง ไอ้ “ปัญหา” เนี่ยะ มันคืออะไร ใครเป็นคนกำหนดให้ว่า

อันนี้คือ ปัญหา ….. อันนี้ ไม่ใช่ ปัญหา

เราก็เล่าให้ คุณเอ ฟังว่า

“คุณทำงานสบายๆ อย่างนี้ เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ถ้าทางการบริหาร เราเรียกว่า  
ผลงานที่เกิดขึ้น

แต่คุณ ไม่มีเป้าหมายในชีวิตใดๆ ว่าคุณจะไปทางไหน
ก็เหมือนกับ ขับรถเล่นรอบๆ ตัวเมือง โดยไม่ได้ระบุว่า
จะไปที่ไหน ก็เปลืองน้ำมันเปล่าๆ น่ะสิ”

เอ ถามเรากลับว่า

“อาจารย์ แล้วถ้าผมมี เป้าหมายในชีวิต เช่น ผมอยากเป็น ผู้จัดการฝ่าย
ผมอยากมีรถส่วนตัว มีบ้าน มีครอบครัว อันนี้ เป็นปัญหา ไหมครับ”

…..

เราตอบกลับไปว่า

“อันนี้เรียกว่า สิ่งที่คาดหวัง คุณอาจจะเรียกว่า
ความฝัน แต่ทางการบริหารจัดการเรียกว่า  
เป้าหมาย”

“และเมื่อไหร่ก็ตามที่ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ยังไม่เท่ากันกับ สิ่งที่คาดหวัง อันนี้เรียกว่า  
ปัญหา”

ตกลงแล้ว สรุปได้ว่า

“ไม่มีเป้าหมาย ก็เป็น ปัญหา แบบหนึ่ง
มีเป้าหมายแล้ว ยังไม่เป็นไปตามนั้น ก็เป็น ปัญหา แบบหนึ่ง”

นิยามของปัญหา คือ

ช่องว่างระหว่าง  สิ่งที่เกิดขึ้นจริง (ความจริง, ผลงาน)
กับ สิ่งที่คาดหวัง (ความคาดหวัง, เป้าหมาย)

Facebook Comments Box

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *