เรียนรู้วิชา MBA ผ่านเกม domino Business Game #18
เรียนรู้วิชา MBA ผ่านเกม domino Business Game#18
โดย วชิราพร ชัยวรมุขกุล (เจ)
Tel. 089-712-7172
clubpattana@hotmail.com
……………………………………………………………………………………………………
feedback is important
การป้อนข้อมูลกลับ เป็นสิ่งสำคัญ
และเป็นหัวใจของการเป็นโค้ชที่ดี
ทีมทีมหนึ่ง
เมื่อสร้างผลงานของทีมออกมา
โค้ชที่ดี ควรรีบใช้ทักษะความเป็นโค้ช
เพื่อค้นหาสิ่งที่ดีขึ้น …
เพื่อพัฒนาให้ต่อยอดงาน
ในหลักของการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback)
ไม่ได้ระบุตายตัว
การ feedback ส่วนใหญ่ที่เจเคยพบเห็น
หลายคนในทีมจะตายเอา
และเสียความรู้สึกกับ feedback แง่ร้าย
ซึ่งเจอได้เยอะในองค์กรใหญ่
พนักงานต่อพนักงานระดับเดียวกัน
หัวหน้าต่อลูกน้อง
ผู้บริหารต่อผู้จัดการ
การ feedback ที่ดี ควรรู้เวลา หรือกาละเทศะ
องค์กรบางที่ มีการกำหนดตารางเวลา feedback
วันเวลา สถานที่และวัตถุประสงค์ที่อย่างชัดเจน
และการจะนำ feedback มาพูด ต้องพูดด้วยตรรกะ
นำเสนอในเรื่องจริง
ไม่ใช่ข้อคิดเห็น หรือเอาอารมณ์
ผู้บริหารที่ใช้ข้อเท็จจริงขึ้นนำ จะนำพาบทสนทนาไปได้ดีกว่า
เอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาตัดสินก่อน
ลองสังเกตตัวอย่างบทสนทนาทั้งสอง …
“3 เดือนที่ผ่านมา ผมเห็นคุณเดี๋ยวก็มาๆ ขาดๆ สายบ้างก็มี
คุณมีปัญหาอะไรหรือเปล่า สมชัย”
กับ
” อืม … สมชัย ดูจากแฟ้มประวัติแล้ว
ไตรมาสที่ผ่านมา คุณมาทำงาน 63 วัน
ลาป่วย 3 วัน และจำนวนวันลากิจ 12 วัน ใช่ไหม
คุณมีข้อมูลอะไรอยากจะบอก หรือให้ผมช่วยไหม”
ถ้าลูกน้อง ยังพัฒนาได้ไม่ตรงตามเป้าที่เราต้องการ
ผู้บริหารควรพูดในทำนองว่า
“วิชิต .. ผมชอบมากเลยที่คุณพยายามทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย
ตอนนี้เพิ่มจากไตรมาสเดิม 5%
และจะดีมากๆ ขึ้นอีก ถ้ามันเป็น 10% เพราะมันทำให้พวกเราทั้งหมด
ได้โบนัสปลายปีที่สมใจ ผมช่วยอะไรคุณได้อีกบ้าง”
แต่ส่วนใหญ่ ท่านผู้บริหารทั้งหลาย
มักพูดห้วน สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ
และจากไป ทิ้งไว้แต่ความเจ็บปวดในจิตใจของผู้เป็นลูกน้อง
” เออ .. วิชิต ไตรมาสนี้ทำได้ดีนะ ทำมาร์ได้ดี
ผมอยากให้มันดีขึ้นกว่านี้อีกเท่านึง ในไตรมาสหน้า
ไปทำมานะ”
เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า บทสนทนาทั้งสอง ต้องการเป้าหมายอย่างเดียวกัน
แต่วิธีการ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ในเชิง AI สุนทรียสนทนา
จะมีปรัชญาการนำเสนอ feedback ว่า
ดี/ชอบ ตรงจุดไหน
เสริม / เพิ่ม ตรงไหน ที่จะทำให้งานนี้เด่นชัดขึ้น