ผู้บั่นทอน VS ผู้ทวีปัญญา กับผู้สืบทอดกิจการ
โดย วชิราพร ชัยวรมุขกุล (เจ)
Tel. 089-712-7172 clubpattana@hotmail.com
สวัสดีค่ะ วันนี้ตามหัวข้อที่ชื่อออกจะแปลกสักหน่อย
แต่มันมีที่มาที่ไปจากหนังสือเล่มหนึ่ง
จะกล่าวไปถึง ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ได้มีโอกาสให้คำแนะนำกับผู้สืบทอดกิจการท่านหนึ่ง
ที่ บทบาทหน้าที่ของเขา จะกลายเป็นผู้นำในองค์กร
(บริษัททั้งหลายของตระกูล)
แต่ที่แย่กว่านั้น หนุ่มนักเรียนนอกรายนี้ มีความคิดก้าวหน้าเกินกว่า
จะทำตามสิ่งที่ยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่เก่า เอาล่ะสิ
เคสแบบนี้มีให้เห็นมากมาย
เพราะมีธุรกิจกงสีไม่น้อย ที่ให้ลูกหลานมาสืบทอดต่อเจตนารมณ์
และห้ามลูกหลานปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในองค์กร
คำอ้างเหล่านั้นคือ
“ก็เขาเคยอยู่ เคยทำมาแบบนี้มาตัั่้งนาน”
“จะไปเปลี่ยนมันทำไม”
“เปลี่ยนไปไม่ดีขึ้นหรอก มีแต่จะต้นทุนสูงเปล่าๆ”
คำถามที่อัดอั้น ที่บรรดาเด็กหัวใหม่อยากจะระเบิดออกมาคือ
“แล้วให้อั๊วไปเรียนต่อสูงๆ เพื่อมาบริหารแบบเดิมๆ ทำไม”
*************************************************************
ที่เกริ่นมาทั้งหมดนี้ จะนำพาทุกท่านโยงสู่หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ
“Multipliers” ซึ่งเขาแปลเป็นไทยว่า ผู้นำแบบทวีปัญญา
ผู้บั่นทอน คือนักฆ่าทางความคิด
ส่วนผู้ทวีปัญญา คือผู้สร้างอัจฉริยะ
อาจไม่ตรงตามตัวเสมอไป แต่ที่แน่นอน
ผู้ทวีปัญญา จะสร้างคนรอบตัวให้เก่งขึ้น แม้ไม่ได้เป็นอัจฉริยะ
แต่ผู้ทวีปัญญา จะกระตุ้นให้ผู้อื่นและ
สร้างบรรยากาศแห่งอัจฉริยะและบรรลุผลในทางที่ดี
เขาช่างมีพรสวรรค์ ในการดึงเอาความเก่งของคนอื่นออกมา
และพัฒนาความเก่งเหล่านั้นให้ต่อยอดไปได้ไกลด้วย
กลับมาที่เรื่องราวที่สรุปได้ไม่ยาก
ผู้บั่นทอน จะใช้คนเก่ง
เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ผู้บั่นทอนตำหนิทันที
อีกทั้งชอบการสั่งการและไม่ให้ผู้อื่นตัดสินใจ
ผลของความสำเร็จเกิดจากการควบคุม
ซึ่งทั้งหมดที่ฟังดูแล้วน่าอึดอัดมาก ถ้าเราเป็นคนเก่งคนหนึ่ง
ที่ต้องอยู่ภายใต้ผู้นำองค์กรดังกล่าว
ในขณะที่ผู้ทวีปัญญา พัฒนาคนเก่ง และจะสำรวจความบกพร่อง
โดยไร้คำติเตียน ( แม้กระทั่งเรียกไปด่า)
เขาให้โอกาสผู้อื่นตัดสินใจโดยเขาครองตัวเองในฐานะที่ปรึกษา
ฉะนั้น เขามีหน้าที่เพียงสนับสนุน ความสำเร็จในองค์กร
เดี๋ยวจะมานำเสนอต่อใน ตอนถัดไป
ว่า ศิลปะของการตั้งคำถาม แบบ AI
ช่วยอะไรๆ เขาได้เยอะเลยค่ะ
โดยเริ่มจากจุดเพียงเล็กๆ
แล้วนำมาขยายผลต่อยอดได้มหาศาลเลยทีเดียว
รอติดตามนะคะ