AI ฉบับมวยวัด (5)
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND
เมื่อหลายปีก่อน เป็นวันที่ผมทดลองเอา AI มาใช้เป็นกระบวนการการสอนครับ
โดยเป็นชั้นเรียน Executive MBA มีนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 70 คน
ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับกลางถึงสูงครับ
ผมลองตั้งคำถาม AI แบบง่ายๆ
จากนั้นให้ทุกคนแสดงความเห็นนั่งเป็นวงกลมในห้องประชุม
คำถามคือ “ให้นึกถึงวันที่เป็นจุดเปลี่ยน วินาทีที่เป็นจุดเปลี่ยน
เปลี่ยนจากคุณจากลูกน้องเป็นผู้บริหาร หรือจากลูกจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ
วันนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง”
สิ่งที่ผมได้รับคำตอบทำให้ผมต้องอึ้งครับ
ในนั้นมีนักศึกษาอยู่หลายประเภท
แต่จุดร่วมที่ผมเจอคือ
คนตั้งตัวได้เพราะทำความดีแบบไม่หวังผลตอบแทน
กับลูกค้าที่เขาไม่เคยคิดว่าจะเป็นลูกค้าเขาด้วยซ้ำครับ
ดังตัวอย่างสถาปนิกรายหนึ่ง เขาเล่าว่าเขาจบมาใหม่ๆ
ยังหางานที่ถูกใจไม่ได้ เลยช่วยพี่สาวทำงานรับจัดสวนไปก่อน
วันหนึ่งรับงานบ้านลูกค้าที่ดูสวยมากหลังหนึ่ง
เขาก็ตั้งใจออกแบบสวนอย่างมีความสุข เต็มที่กับมันครับ
แล้วเจ้าของบ้านเลยลงมาดูก็ชอบเลยได้คุยกัน
สอบถามไปสอบถามมาก็เลยรู้ว่าจบสถาปัตย์
ส่วนเจ้าของก็กำลังมีโครงการสร้างโรงแรมในกัมพูชา
ทำให้ต่อมาเขาได้ออกแบบโรงแรมให้ลูกค้ารายนี้ถึงสองแห่งที่กัมพูชาครับ
ลองให้นักศึกษาเล่าให้ฟังก็จะมีซ้ำๆกันครับ
มีเคสหนึ่งทำงานที่ธนาคารอยู่ดีๆ
วันนั้นธนาคารเปิดฝากเงินและรับของที่ระลึก
ปรากฏมีผู้หญิงหอบเงินเหรียญมาฝาก คนอื่นๆไม่สนใจ
แต่ผู้บริหารท่านนี้ (ซึ่งตอนนั้นเป็นลูกน้อง) สนใจเข้าไปช่วย
ปรากฏว่าไม่กี่วันต่อมา อยู่ดีๆมีเงินฝากย้ายมาที่เขาไม่ต่ำกว่า 30 ล้านจากผู้หญิงท่านนี้
เหตุเพราะผู้หญิงคนนี้เป็นแม่ของ สส. ครับ
ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่าคนเราตั้งตัวได้นั้น
จุดเริ่มต้น (จากข้อมูล 70 คน) มาจากความดี ความดีล้วนๆครับ
ไม่ต้องโกงใคร ขอให้ตั้งหน้าตั้งตาทำดี อย่าเลือกปฏิบัติเท่านั้น
บางคนได้ลูกค้าเพราะไปช่วยคนหกล้มในสวนสาธารณะก็มีครับ
ที่สังเกตเป็นจุดร่วม ไม่มีใครสักคนในตอนนั้นพูดถึงการเข้าหาผู้ใหญ่
การตีกอร์ฟเอาใจนาย จนต้องทิ้งลูกเมียอยู่กับบ้านครับ
นั่นคือการขโมยผลงานครับ
เหตุการณ์ครั้งนั้น ผมคิดและเข้าใจว่า สิ่งที่เราพูดกันมันคือกฏแห่งกรรม
บางทีการเรียนการสอนเรื่อง ความเป็นผู้ประกอบการ
แท้จริงอาจอยู่ที่ “กฏแห่งกรรม” ครับ
ลองถามด้วยคำถามอย่างเดียวกันสิครับ
แล้วคุณจะเจออะไรที่ไม่น่าเชื่อ
ทำดีได้ดีมีจริงครับ