ค้นหาและพัฒนาคนให้เก่งด้วย AI
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND
ครั้งหนึ่งเมื่อมีการคุยกันก่อนจะเริ่มโครงการ Appreciative Inquiry โครงการหนึ่ง
ผู้สนใจท่านนี้สนใจจะใช้ AI มาวางแผนกลยุทธ์ให้สำนักวิจัยทางการแพทย์แห่งหนึ่ง
หนึ่งใน mission ของที่นี่คือได้นักวิจัยที่สร้างผลงานได้มากๆ และเก่ง
เขาเลยถามผมว่า AI มันทำยังไงอาจารย์
ผมเลยว่ามาทดลอง Discovery กัน
ก่อนอื่นผมก็เล่าแนวคิด AI คร่าวq ว่า เป็นการค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดหรือพลังที่ซ่อนเร้นในองค์กร (What work)
แล้วเอามาขยายผล ผมเลยบอกเขาว่า
“คุณลองนึกถึงคุณหมอที่เป็นนักวิจัยที่เก่งที่สุดเท่าที่คุณเห็นมาสิ คุณทำงานที่นี่มาเกือบ 20 ปีแล้ว”
“เขาเป็นคนที่สร้างผลงานในระดับสากล ตามเสป็กที่คุณต้องการนั่นแหละ”
ในที่สุดเราก็ได้ชื่อศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง ท่านอายุไม่มาก
เขาบอกว่ารู้จักอาจารย์ท่านนี้ตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์ครับ
ผมเลยซักต่อว่าศาสตราจารย์ท่านนี้ต่างจากเพื่อนในรุ่นเดียวกันหรือไม่
เขาตอบว่าต่างครับ ตอนเรียนเฉพาะทาง ท่านกระตือรือร้นเรื่องเทคนิคมากครับ
ชอบหาโอกาสทดลองวิธีการใหม่ๆ
ผมถามต่อแล้วกลไกใดที่เปลี่ยนท่านมาเป็นนักวิจัย
จนท่านกลายเป็นศาสตราจารย์ในปัจจุบัน
เขาบอกหลักสูตรระบาดวิทยาค่ะ
ผมซักถามต่อ
แล้วตอนนี้เท่าที่คุณสัมผัสแพทย์ที่กำลังเรียนเฉพาะทาง
มีใครมีนิสัยคล้ายๆศาสตราจารย์ท่านนี้ไหม
“มีค่ะ”
“แล้วชี้ตัวได้มั้ย”
“ได้ค่ะ”
ผมเลยสรุปเขาว่านี่ล่ะ AI เรื่องนี้สามารถขยายผลได้ กล่าวคือ
“ร่วมกันระบุคนที่มีบุคลิกคล้ายศาสตราจารย์เจ๋งๆ
(ศาสตราจารย์ที่ยังมันส์กับวิจัยแม้เป็นศาสตราจารย์ไปแล้ว)
นำเข้ามาสู่กลไกการเรียนระบาดวิทยา”
ที่สำคัญน่าไปสัมภาษณ์ท่านอาจารย์ท่านนั้นถึงจุดเปลี่ยนว่า
“วินาทีใดที่ท่านเปลี่ยนเข็มมุ่งมาทำวิจัยจนสำเร็จขนาดนี้”
นี่จะได้ข้อมูลชัดมากขึ้นครับ
จากนั้นเข้าจะได้แผนที่ดีมากแผนหนึ่งในระยะเวลาไม่นานครับ
นี่ละครับการวางแผนแบบ Strength-based planning
ภายหลังผมมักใช้การถามแบบนี้เวลาทำ Workshop หรือ KM
ช่วงการทำ Destiny มักถูกบอกจากผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า “ชอบตอนนี้มากที่สุดครับ”
ท่านที่เคยวางแผนโดยใช้ AI แล้ว Work ช่วยเล่าประสบการณ์ให้พวกเราด้วยครับ