ปัญหามีที่มาที่ไปนะจ๊ะ
นิยามของปัญหา คือ
ช่องว่างระหว่าง
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง (ความจริง, ผลงาน)
กับ สิ่งที่คาดหวัง (ความคาดหวัง, เป้าหมาย)
ปัญหา คือ
ช่องว่างระหว่าง “ผลงาน กับ เป้าหมาย”
จะรู้ได้ว่า มันเป็น ปัญหา
โดย ระบุ เป้าหมาย และ ผลงาน
เป้าหมาย อยู่สูงกว่า ผลงาน ก็ “เป็นปัญหา”
เป้าหมาย เท่ากับ ผลงาน ก็ “ไม่เป็นปัญหา”
ศึกษา “ปัญหา” ให้ลึกกว่าเก่า
ในเมื่อ ชีวิต กับ ปัญหา เป็นของคู่กัน
ทำไมเราไม่เรียนรู้ “ปัญหา และ การแก้ปัญหา” ให้ลึกกว่าเก่า
เพื่อการ “พลิกปัญหา” จะสามารถ “พลิกชีวิต” ของเราได้
ปัญหา แก้ยังไงเอ่ย …
ขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหา
ในชีวิตประจำวัน ปัญหาหนึ่ง
เพื่อมาเรียนรู้ กระบวนการแก้ปัญหา 2 วิธี กันก่อนนะครับ
น้องคนหนึ่งของเรา อยู่หอพักนักศึกษา
เขาชอบดื่มนมเป็นชีวิตจิตใจ แต่ “ปัญหา” คือ
นมสดที่ซื้อมาจากร้านตอนเช้าวันอากาศร้อนๆ
พอตกเย็น ก็ “เสีย” ซะแล้ว เพราะ ห้องของเขา ไม่มีตู้เย็น
เขาคิดวิธีแก้ปัญหานี้ 2 วิธี
1.ซื้อตอนเช้า รีบดื่มให้หมด ไม่ต้องเก็บเอาไว้
ข้อดี คือ ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ในการซื้อตู้เย็นมาเก็บนมสด
ข้อเสีย คือ ต้องดื่มนมให้หมด ในไม่กี่ชั่วโมง เก็บไว้ดื่มไม่ได้
เราเรียกวิธีแก้ปัญหานี้ว่า “การควบคุม” (Control)
คือ การ “ควบคุม” ปริมาณนมสด ไม่ให้มากเกินไป
เพราะหากมากเกินที่จะดื่มได้หมด ก็เสียทิ้ง
2.ไปซื้อตู้เย็นมาเก็บนม
ข้อดี คือ เก็บนมได้หลายขวดขึ้น ไม่ต้องไปซื้อทุกเช้า
ข้อเสีย คือ ต้องลงทุน ใช้ค่าขนม ไปซื้อตู้เย็น
เราเรียกวิธีแก้ปัญหานี้ว่า “การปรับปรุง” (Improvement)
คือ หาวิธีในการจัดเก็บ นมสด ให้เก็บได้นานขึ้น
เก็บได้ทีละมากขึ้น ไม่ต้องคอยควบคุมปริมาณมากนัก
ในกรณีนี้ คือ การซื้อ “ตู้เย็น” มาจัดเก็บมันซะ
วิธีแก้ปัญหา 2 กระบวนคิด
- ควบคุม Control
อย่างที่ กรณีนมสด ข้างต้น ว่าไว้ครับ
ปัญหาบางอย่างที่เกิดไม่บ่อย(ปัญหาครั้งคราว)
เราก็สามารถแก้ไขได้ด้วย “การควบคุม”
ให้มันอยู่กับร่องกับรอยครับ
- ปรับปรุง Improve
ส่วนปัญหาที่เกิดจนเป็นปกติ (ปัญหาเรื้อรัง)
เราใช้วิธี “ปรับปรุง”ให้มันดีขึ้นครับ
เหมือนกรณีนมสดเดิมไม่มีวิธีการเก็บรักษานมสดให้อยู่ได้นาน
ก็ปรับปรุงวิธีการ ซื้อตู้เย็นมา เก็บนมสด ให้อยู่ได้นานขึ้น
ว่าแต่ …
หากเป็นคุณ จะเลือกวิธีแก้ปัญหาแบบไหนครับ
- การแก้ปัญหาแบบ “ควบคุม” หรือ
- การแก้ปัญหาแบบ “ปรับปรุง”