❤️ 5 ข้อง่าย และ 5 ข้อยาก ❤️ ในการทำงาน Game-Based Trainer
❤️ 5 ข้อง่าย และ 5 ข้อยาก ❤️ ในการทำงาน Game-Based Trainer
วิทยากรที่มีเกมเป็นเครื่องมือ โดย ดร.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล
#gamebasedtrainer
นักออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้
ในองค์กรนั้น จะว่าง่าย ก็ ง่าย / จะว่ายาก ก็ ยาก
…
ที่ง่าย ผม ถอดได้ 5 ข้อ
- Fun
เกม เป็น สิ่งเร้าอารมณ์
นำเสนอว่า เราสอน มี เกม ด้วย
ก็กระตุ้น คนฟัง คนเรียน ไปส่วนนึงแล้ว
เรียนเนื้อหา หนัก ๆ ด้วย เกม
เฮ้ย น่าสนใจ - EASY
เกม หาได้ง่ายขึ้น ทุกวัน
ผมเคย ประมาณ คร่าว ๆ ใน
Boardgamegeek มี บอร์ดเกม
300,000 กว่าชื่อ หาได้ใน
ร้านบอร์ดเกม หรือ แอพ สีต่าง ๆ - FACILITATE
เกม ไม่ต้อง พูดทั้งเบรก
ใช้ทักษะการฟา Facilitation
อธิบายกติกา ผู้เรียน คิดวางแผน
ลงมือทำ ถอดบทเรียนรู้
ไม่ต้องเตรียมเนื้อหา ทั้งเบรกนั้น - BEHAVIOR
เกม ทำให้เห็น พฤติกรรม
ถ้าอธิบายว่า การสื่อสาร เป็นแบบนี้
ทำแบบนี้ ไม่ทำแบบนี้ แต่ไม่ได้ฝึก
พฤติกรรม ก็ยังคง เหมือนเดิม
แค่ เข้าใจว่า อ้อ 1 2 3 4 5 แล้วไงต่อ - TOOL
เกม เป็นสื่อกลาง
ให้คนเรียน ทำงานด้วยกัน
จะมี กิจกรรมไหน เร้าความรู้สึก
ในการตั้งหน้าตั้งตา คุย วางแผน
ทำงาน วัดผล รับผล เท่าเกม
หากเทียบกับ การ discuss หรือ
เขียน Flipchart
———-
เมื่อมี ข้อง่าย ข้อดี ข้อเด่น
ย่อมมี ข้อยาก ข้อลำบาก เสมอ
เหรียญมี 2 ด้าน ผู้ใช้มัน ย่อม
ต้องรู้จักวิธีใช้เกม
ความ ยาก ของการใช้เกม 5 ข้อ
(ในมุม รันกับ องค์กร เท่านั้น)
Game-Based Training
เน้นที่ Training ไม่ใช่เน้นที่ เกม
ถอดเกม ออก คุณก็บรรยาย
จัด Workshop กระบวนการอื่น ๆ ได้
มี เครื่องมือฟา มากมาย เข้าไป
เรียนรู้ได้ ในกลุ่ม IAF Thailand
อย่าใช้เกมเป็นใหญ่
จนลืมใส่ใจ “การเรียนรู้” - TRAINING
เพราะ Training คือ Training
เกม เป็นส่วนประกอบเท่านั้น
อย่า ใช้เกม เป็นหลัก
ตลอดเบรก ตลอดวัน
(ยกเว้น เขาอยากได้แค่สนุก นะ)
แล้วปล่อยให้ ผู้เล่น
เล่นโดยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากเวลานั้น
สนุก ก็พาเขากลับมา เรียนรู้ได้ - CONTENT
วิทยากร นำเกม ต้อง เข้าใจ
K-S-A ความรู้ที่จะส่งมอบ
ทักษะที่เขาต้องฝึก มุมมองดี ๆ
ที่เขาจะนำกลับไปใช้ เช่น
การทำงานเป็นทีม แต่ เอาเกมเล่นเดี่ยว
หรือ เกมแข่งกันในกลุ่ม คนเรียนสนุก
แต่ไม่เชื่อมโยงเนื้อหา ก็ หมดคุณค่า - TIME
มีเวลาจำกัด 1 เบรก แค่ 60-90 นาที
(ถ้าเป็น ในโรงเรียน จะเหลือ 40-50 นาที)
อธิบายกติกา พาเล่น เห็นผลลัพธ์
จับการเรียนรู้ ดูถึงงานของเขา
เขย่าการลงมือทำหลังงาน
ไม่ใช่แค่ เล่นไป 90 นาที
หรือ ทั้งวัน แล้วจบไป - LEARNER
ผู้เรียน มีหลากหลาย รูปแบบ
และ ทุก ๆ คน แตกต่างกัน
ผมย้ำ ทุกคน ไม่ใช่ ทุกกลุ่ม
ต้องเข้าใจว่า มีคนแบบนี้ทุกคลาส
คน ไม่ชอบ เกม และ ชอบมาก ๆ
คน ไม่ชอบ แข่งขัน และ เอาเป็นเอาตาย
คน ไม่ชอบ คิด และ คิดหนัก ๆ
คน ไม่ชอบ เรียน และ เรียนมาเยอะมาก
การออกแบบ การส่งมอบความรู้
สำคัญมาก ต้องเข้าใจ เขา - HUMAN DEVELOPMENT
ก่อนที่คุณจะเข้าไปจัดคลาส
คุณต้องผ่านด่าน HR ผู้บริหาร
ผู้เรียน ผู้อนุมัติ ผู้จัด ผู้จ้าง
ต้องทำให้เขา เข้าใจ ว่า เกมนี้
ทำให้ คนของเขา พัฒนาขึ้น
พัฒนายังไง ตรงตาม Pain&Gain
ที่เขาอยากได้ไหม
ตรงวัตถุประสงค์ หรือไม่
ตรงตามหลักสูตร ที่เขาเข้าใจ หรือไม่
ถอดการเรียนรู้ อะไรได้บ้าง
ผู้เรียนจะเปลี่ยนไปยังไง
หากเขาเปลี่ยนไปแล้ว
อะไรของงานเขาจะดีขึ้น
และ คุ้มค่ากับ การจัด หรือไม่
ขอความ กรุณา !!! อย่าหาทำ !!! - มีเกม แต่ ใช้เกมเป็นใหญ่ ไม่เรียนรู้
- มีเกม ไม่ตรงเนื้อหาทหัวข้อที่สอน
- มีเกม ยาก แต่มีเวลาน้อย คนไม่เข้าใจ
- มีเกม สนุก แต่เนื้อหา “บางเกินไป”
- มีเกม เก็บเอาไว้ เฉย ๆ ไม่เอามาใช้
จั่วหัวไว้แล้ว
Game Based Training
จะว่าง่าย ก็ง่าย
จะว่ายาก ก็ยาก
วิทยากร ฟา โค้ช HR ครู อาจารย์
ท่านใดสนใจ #ใช้เกมให้เห็นผล
ปีหน้า เรามี Event ตลอดปี
หรือ ถ้าหากใครสนใจ
เราอาจจะเปิด Game-Based Trainer
& Facilitator Certification Program
ไปให้รู้แล้ว รู้รอด ไปเลย
ใครผ่านหลักสูตรนี้ไป
รับรอง #ใช้เกมให้เห็นผล แน่นอน
Dr.Nipat #ODMaster
#StrategicFacilitor
#GameBasedTrainer
Facebook Comments Box