CourseGamification

❤️ 5 ข้อง่าย และ 5 ข้อยาก ❤️ ในการทำงาน Game-Based Trainer

❤️ 5 ข้อง่าย และ 5 ข้อยาก ❤️ ในการทำงาน Game-Based Trainer
วิทยากรที่มีเกมเป็นเครื่องมือ โดย ดร.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล
#gamebasedtrainer

นักออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้
ในองค์กรนั้น จะว่าง่าย ก็ ง่าย / จะว่ายาก ก็ ยาก

ที่ง่าย ผม ถอดได้ 5 ข้อ

  1. Fun
    เกม เป็น สิ่งเร้าอารมณ์
    นำเสนอว่า เราสอน มี เกม ด้วย
    ก็กระตุ้น คนฟัง คนเรียน ไปส่วนนึงแล้ว
    เรียนเนื้อหา หนัก ๆ ด้วย เกม
    เฮ้ย น่าสนใจ
  2. EASY
    เกม หาได้ง่ายขึ้น ทุกวัน
    ผมเคย ประมาณ คร่าว ๆ ใน
    Boardgamegeek มี บอร์ดเกม
    300,000 กว่าชื่อ หาได้ใน
    ร้านบอร์ดเกม หรือ แอพ สีต่าง ๆ
  3. FACILITATE
    เกม ไม่ต้อง พูดทั้งเบรก
    ใช้ทักษะการฟา Facilitation
    อธิบายกติกา ผู้เรียน คิดวางแผน
    ลงมือทำ ถอดบทเรียนรู้
    ไม่ต้องเตรียมเนื้อหา ทั้งเบรกนั้น
  4. BEHAVIOR
    เกม ทำให้เห็น พฤติกรรม
    ถ้าอธิบายว่า การสื่อสาร เป็นแบบนี้
    ทำแบบนี้ ไม่ทำแบบนี้ แต่ไม่ได้ฝึก
    พฤติกรรม ก็ยังคง เหมือนเดิม
    แค่ เข้าใจว่า อ้อ 1 2 3 4 5 แล้วไงต่อ
  5. TOOL
    เกม เป็นสื่อกลาง
    ให้คนเรียน ทำงานด้วยกัน
    จะมี กิจกรรมไหน เร้าความรู้สึก
    ในการตั้งหน้าตั้งตา คุย วางแผน
    ทำงาน วัดผล รับผล เท่าเกม
    หากเทียบกับ การ discuss หรือ
    เขียน Flipchart

    ———-

    เมื่อมี ข้อง่าย ข้อดี ข้อเด่น
    ย่อมมี ข้อยาก ข้อลำบาก เสมอ
    เหรียญมี 2 ด้าน ผู้ใช้มัน ย่อม
    ต้องรู้จักวิธีใช้เกม
    ความ ยาก ของการใช้เกม 5 ข้อ
    (ในมุม รันกับ องค์กร เท่านั้น)
    Game-Based Training
    เน้นที่ Training ไม่ใช่เน้นที่ เกม
    ถอดเกม ออก คุณก็บรรยาย
    จัด Workshop กระบวนการอื่น ๆ ได้
    มี เครื่องมือฟา มากมาย เข้าไป
    เรียนรู้ได้ ในกลุ่ม IAF Thailand
    อย่าใช้เกมเป็นใหญ่
    จนลืมใส่ใจ “การเรียนรู้”
  6. TRAINING
    เพราะ Training คือ Training
    เกม เป็นส่วนประกอบเท่านั้น
    อย่า ใช้เกม เป็นหลัก
    ตลอดเบรก ตลอดวัน
    (ยกเว้น เขาอยากได้แค่สนุก นะ)
    แล้วปล่อยให้ ผู้เล่น
    เล่นโดยไม่ได้เรียนรู้อะไรจากเวลานั้น
    สนุก ก็พาเขากลับมา เรียนรู้ได้
  7. CONTENT
    วิทยากร นำเกม ต้อง เข้าใจ
    K-S-A ความรู้ที่จะส่งมอบ
    ทักษะที่เขาต้องฝึก มุมมองดี ๆ
    ที่เขาจะนำกลับไปใช้ เช่น
    การทำงานเป็นทีม แต่ เอาเกมเล่นเดี่ยว
    หรือ เกมแข่งกันในกลุ่ม คนเรียนสนุก
    แต่ไม่เชื่อมโยงเนื้อหา ก็ หมดคุณค่า
  8. TIME
    มีเวลาจำกัด 1 เบรก แค่ 60-90 นาที
    (ถ้าเป็น ในโรงเรียน จะเหลือ 40-50 นาที)
    อธิบายกติกา พาเล่น เห็นผลลัพธ์
    จับการเรียนรู้ ดูถึงงานของเขา
    เขย่าการลงมือทำหลังงาน
    ไม่ใช่แค่ เล่นไป 90 นาที
    หรือ ทั้งวัน แล้วจบไป
  9. LEARNER
    ผู้เรียน มีหลากหลาย รูปแบบ
    และ ทุก ๆ คน แตกต่างกัน
    ผมย้ำ ทุกคน ไม่ใช่ ทุกกลุ่ม
    ต้องเข้าใจว่า มีคนแบบนี้ทุกคลาส
    คน ไม่ชอบ เกม และ ชอบมาก ๆ
    คน ไม่ชอบ แข่งขัน และ เอาเป็นเอาตาย
    คน ไม่ชอบ คิด และ คิดหนัก ๆ
    คน ไม่ชอบ เรียน และ เรียนมาเยอะมาก
    การออกแบบ การส่งมอบความรู้
    สำคัญมาก ต้องเข้าใจ เขา
  10. HUMAN DEVELOPMENT
    ก่อนที่คุณจะเข้าไปจัดคลาส
    คุณต้องผ่านด่าน HR ผู้บริหาร
    ผู้เรียน ผู้อนุมัติ ผู้จัด ผู้จ้าง
    ต้องทำให้เขา เข้าใจ ว่า เกมนี้
    ทำให้ คนของเขา พัฒนาขึ้น
    พัฒนายังไง ตรงตาม Pain&Gain
    ที่เขาอยากได้ไหม
    ตรงวัตถุประสงค์ หรือไม่
    ตรงตามหลักสูตร ที่เขาเข้าใจ หรือไม่
    ถอดการเรียนรู้ อะไรได้บ้าง
    ผู้เรียนจะเปลี่ยนไปยังไง
    หากเขาเปลี่ยนไปแล้ว
    อะไรของงานเขาจะดีขึ้น
    และ คุ้มค่ากับ การจัด หรือไม่
    ขอความ กรุณา !!! อย่าหาทำ !!!
  11. มีเกม แต่ ใช้เกมเป็นใหญ่ ไม่เรียนรู้
  12. มีเกม ไม่ตรงเนื้อหาทหัวข้อที่สอน
  13. มีเกม ยาก แต่มีเวลาน้อย คนไม่เข้าใจ
  14. มีเกม สนุก แต่เนื้อหา “บางเกินไป”
  15. มีเกม เก็บเอาไว้ เฉย ๆ ไม่เอามาใช้

    จั่วหัวไว้แล้ว
    Game Based Training
    จะว่าง่าย ก็ง่าย
    จะว่ายาก ก็ยาก
    วิทยากร ฟา โค้ช HR ครู อาจารย์
    ท่านใดสนใจ #ใช้เกมให้เห็นผล

    ปีหน้า เรามี Event ตลอดปี
    หรือ ถ้าหากใครสนใจ
    เราอาจจะเปิด Game-Based Trainer
    & Facilitator Certification Program
    ไปให้รู้แล้ว รู้รอด ไปเลย
    ใครผ่านหลักสูตรนี้ไป
    รับรอง #ใช้เกมให้เห็นผล แน่นอน
    Dr.Nipat #ODMaster
    #StrategicFacilitor
    #GameBasedTrainer
Facebook Comments Box