Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Blog

การพัฒนาตัวเองและองค์กรให้ไม่ถดถอยในภาวะเศรษฐกิจถดถอย #2

โดย วชิราพร ชัยวรมุขกุล (เจ)
Tel. 089-712-7172
ดร.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล (อ.ม่อน)
Tel. 080-419-8224
clubpattana@hotmail.com

 

สวัสดีครับ บทนี้ผมยังคงต่อเนื้อหาที่หลายๆ ท่านเห็นจนชินตาไปแล้ว
เกี่ยวกับ องค์กรที่ผันตัวธุรกิจอย่างฉับพลันในท่ามกลางสภาวะ covid  เช่นนี้
ก็เพื่อความอยู่รอด และการพอจะเลี้ยงคนในองค์กรต่อไปได้

ตัวท่านผู้อ่านเองก็คงเห็นมาบ้าง เช่น การบินไทยมาทอดปาท่องโก๋ขาย
โรงแรมต่างๆ งัดเชฟมาทำอาหารเดลิเวอรี่ หรือทำอาหารหน้าโรงแรม เปิดครัวหน้าโรงแรมเพื่อการอยู่รอด
หลายๆ ธุรกิจขายสินค้าชนิดเดิม แต่เพิ่มเติมคือช่องทาง นั่นคือ ออนไลน์ เพื่อให้เข้ายุคสมัย
ให้เข้าถึงง่าย 

คุณผู้อ่าน ทราบไหมครับว่า เหล่านี้ มีสิ่งใดที่พวกเขามีเหมือนกัน

คำตอบคือ ความขยันเพื่อหัวใจที่ไม่ยอมแพ้

ที่ผมเห็นแหละแหวกแนวมากๆ อย่างหนึ่งก็คือ
องค์กรที่ผันตัวให้พนักงานมาเป็นช่างตัดผม ทำผม แต่งหน้า

กลายเป็น ธุรกิจบริการที่ดี และผ่านไปได้อย่างสดใส
ไม่ต้องเชิญพนักงานออกสักคนเดียว

ธุรกิจโรงแรมแห่งหนึ่ง ผันตัวมาขายเซิร์ฟสเก็ตซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในช่วงนี้
และมีบัตรของขวัญ มี
ส่วนลดในการเข้าพักโรงแรม ไม่จำกัดช่วงเวลา
หนังสือเล่มหนึ่งกล่าวไว้ว่า บริษัท ก็เหมือนเรือที่ลอยในทะเล เมื่อยืนชมวิว ก็จะเห็นแต่สิ่งสวยงาม
พอก้าวลงไปในทะเล ก็จะรู้ถึง ปัญหาและอุปสรรคที่มีไม่จบสิ้น

 

sunset-675847_640

 

 

ดังนั้น ถึงจะมีคลื่นโหมกระหน่ำเพียงใด ก็ต้องพร้อมรับมือ
แม้ว่า เป็นช่วงคลื่นลมปลอดโปร่ง ก็ไม่ได้แปลว่า จะไม่เกิดวิกฤติคลื่นยักษ์มา
ดังนั้น หากอยู่แต่ริมฝั่ง ย่อมไม่เกิดความก้าวหน้าใดๆ ตราบใดที่ไม่ออกไปท้าทาย ไปลอง

บริษัทที่เหมือนเรือกลางทะเล ถ้้าลมแรง ถ้ายังฝืน เรือก็ล่ม
คงดีซะกว่า ถ้าหันใบเรือ แล้วหักหลบทิศทางลม
หันกลับมาตั้งหลักใหม่ก่อน  เพื่อความอยู่รอด
สิ่งเหล่านั้น ไม่กติกา
ขึ้นอยู่กับว่า องค์กรรับได้ไหม  ปรับตัวได้หรือไม่

ร้านค้าแห่งหนึ่งที่ผมรู้จัก มีขนาดไม่ใหญ่มาก เขาขายเสื้อผ้า
ทั้งขายปลีก ขายส่ง 
เมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่ดี และรู้ว่า ถ้าอยู่แบบนี้ต่อไป อาจไปไม่รอด
หัวหน้าหรือเจ้าของกิจการ สอบถามความสามารถของลูกน้องในทันที
พวกเขาประชุมกัน และสรุปออกมา ได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ
คือ กลุ่มที่มีความสามารถในการชงเครื่องดื่ม จำพวก ชานม
(ทีมชง ทีมสั่งวัตถุดิบ ทีมผู้ช่วย)  
กับอีกพวกคือมีความสามารถในการขับขี่ (รู้พิกัดถนนหนทาง)

สรุป เกิดร้านขายเครื่องดื่มชง รับออเดอร์ทางโทรศัพท์
และออนไลน์ ส่วนทีมจัดส่งก็ทำงานประสานกันเป็นทีม 
ถามว่า  ณ ตอนนี้ การขายเสื้อผ้าของร้านค้าแห่งนี้ ก็ยังคงขายอยู่
แต่เน้นช่องทางออนไลน์ แต่คุณทราบไหมว่า
รายได้หลักนั้น มาจากการขายชานมไข่มุก ! 

“ถ้าไม่มีวิกฤติ ผมก็คงไม่มีอะไรสนุกๆ ให้ตื่นเต้นแบบนี้”
เจ้าของกิจการคนนี้ ก็สามารถปรับต่อต่อยุค ต่อภาวะ covid  ได้
แม้จะไม่หวือหวา ไม่ได้มีทุนหนาอะไรมาก อต่อย่างน้อย
องค์กรขนาดเล็กของเขาก็ไม่มีใครต้องได้ออกจากงาน
แถมรายได้ก็ยังได้ดีแม้จะเหนื่อยขึ้นด้วยซ้ำ
(เป็นผม ผมก็ยอมนะ ณ จุดจุดนี้)

ผมจึงนำมาเล่า
เผื่ออาจจะเป็นแรงบันดาลใจและเป็นตัวอย่างง่ายๆ
ที่มองเห็นได้ชัดในองค์กรขนาดเล็กๆ

Facebook Comments Box