Blog

การพัฒนาตัวเองและองค์กรให้ไม่ถดถอยในภาวะเศรษฐกิจถดถอย #1

โดย วชิราพร ชัยวรมุขกุล (เจ)
Tel. 089-712-7172
ดร.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล (อ.ม่อน)
Tel. 080-419-8224
clubpattana@hotmail.com

สวัสดีบ่ายวันศุกร์แสนสุขสำราญ ชื่นบานหัวใจครับ
แม้ว่า สภาวะแบบนี้หลายๆ องค์กรจะไม่สนุกเลยกับภาวะเศรษฐกิจ
และสภาวะความเป็นอยู่ที่เกิดขึ้น

ผมขับรถออกไปละแวกไหนที่เห็น ร้านรวงส่วนใหญ่ล้วนเงียบ
ถนนหนทางก็เงียบมากกว่าเดิม เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อ covid
เห็นข่าวอยู่ทุกวัน ว่าร้านอาหาร ร้านกินดื่มหลายแห่ง ต่างพากันปิดตัวไปก็มาก
ส่วนใหญ่แล้วพูดไปในทางเดียวๆ กัน คือ
“รัฐบาลไม่เยียวยา”
“สภาพเศรษฐกิจแบบนี้จะค้าขายก็ลำบาก”
“แค่จ่ายค่าคนก็ขาดทุนแล้ว”
“ไม่มีลูกค้ามาเที่ยว จะขายของได้ยังไง”

แต่ท่ามกลางสิ่งที่เกิดขึ้น ผมเองก็เห็นร้านจำนวนหนึ่ง องค์กรจำนวนหนึ่ง
ที่ตกอยู่ในเงื่อนไขแบบเดียวกันคือ เศรษฐกิจทรุด สถานการณ์ covid รุมเร้า
แต่กลับขายสินค้า มียอดขายดีเอาๆ มันเป็นอะไรที่น่าสนใจไม่น้อย
มันทำให้เกิด “ความแตกต่างที่ชัดเจน”

ความแตกต่างของอะไร

ครั้งหนึ่ง ผมเคยพูดคุยกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างกันกับที่อื่นๆ
แต่ผมถามเขาว่า ทำไม องค์กรพี่ดูเหมือนอยู่ได้ท่ามกลางภาวะแบบนี้

เขาตอบว่า อยู่ที่มุมมอง
ถ้ามองว่า มันคือวิกฤติ มันจะหาที่หาทางไปต่อไม่ได้
แต่ถ้ามองว่า มันก็คือ โอกาส
จะมีอะไรให้คิดอีกเยอะ แล้วเราควรจะรีบไขว่คว้าไว้หรือจะปล่อยให้หลุดมือ

 

statistics-215526_640

เป็นแนวคิดที่ช่วยเยียวยาในสภาวะ ณ ตอนนี้มากเลยครับ

ในการพูดคุย เขาไม่ใช่ว่า ไม่เคยพ่ายแพ้ เพียงแต่ เขายังไม่ถอดใจ กำลังใจคือสิ่งสำคัญ
ธุรกิจร้านอาหารของเขา เขานำกลับมาคิดทุกคืนที่ปิดร้านว่า
วันนี้ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ  มีไอเดียของร้าน ไอเดียของลูกค้าใหม่ๆ รึเปล่า
อะไรที่เป็นอุปสรรคของร้านในวันนี้ พรุ่งนี้จะเผชิญหน้า และให้มันเกิดได้ลดลงรึเปล่า ทำอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ วิธีการที่จะช่วยเพิ่มยอดขายนั้น หลักๆ ได้มาจากความจริงใจในการส่งมอบ
สินค้าเองต้องมีคุณสมบัติที่ดีพอสำหรับลูกค้า การส่งมอบสินค้าและบริการก็เช่นกัน
ฉะนั้นเรื่องของพนักงานขายเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

ในเรื่องการส่งมอบ ผมมีตัวอย่างองค์กรหนึ่ง
ที่มียอดขายที่น่าชื่นใจสวนทางกับ สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
เคล็ดลับอยู่ตรงที่ เขาให้ความสนใจแก่พนักงานขายเอามากๆ
1 ไม่ยัดเยียดลูกค้า หากแต่ ช่วยลูกค้าหาสินค้าที่ต้องการร่วมกัน
นั่นเรียกง่ายๆ  ว่า “ก้าวไปด้วยกัน”
แม้ว่า สินค้านั้น ไม่ได้อยู่ในขอบเขตขององค์กร
แต่แล้ว เขามองว่า ในสักวันหนึ่ง ลูกค้าก็จะต้องย้อนกลับมา
หาสินค้าที่องค์กรมี อย่างใดอย่างนึง เพราะเอาความจริงใจไม่หลอกลวงเข้าว่า
2 ให้เวลาลูกค้าตัดสินใจ อย่างเชื่อมั่น และเมื่อปิดการขายได้ ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า
“คุ้มค่า ”  อย่างเห็นได้ชัด

ตอนหน้า ผมจะยกตัวอย่าง (ที่หลายท่านเห็นจนชินตาไปแล้ว)
เกี่ยวกับ องค์กรที่ผันตัวธุรกิจอย่างฉับพลันในท่ามกลางสภาวะ covid  เช่นนี้
ก็เพื่อความอยู่รอด และการพอจะเลี้ยงคนในองค์กรต่อไปได้

Facebook Comments Box