Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

BlogBook

การพัฒนาองค์กรผ่านมุมมองคำว่า คำถามเชิงบวก

โดย วชิราพร ชัยวรมุขกุล (เจ)
Tel. 089-712-7172
ดร.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล (อ.ม่อน)
Tel. 080-419-8224
clubpattana@hotmail.com

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผู้อ่านและติดตามการพัฒนาองค์กร
ในช่วงสถานการณ์ covid นี้ หลายๆ คนก็มีความเครียด
ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก ใหญ่ ทุกคนล้วนแล้วต้องการให้
สถานการณ์โลกครั้งนี้ คลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว

กับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างรุนแรงนี้
ในเมื่อคนรอบตัวเครียดอยู่แล้ว
การตั้งคำถามต่างๆ ในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรตั้งคำถามเชิงบวกเชิงสร้างสรรค์
(creative topic)

 

วันก่อน ผมประชุมกับทีม สนุกมากครับ
แต่ละคนงัดคำที่ที่สร้างสรรค์และต่อยอดทั้งนั้น
เช่น  ” เราจัดบรรยายออนไลน์ยังไง ที่ผู้เข้าร่วมยังคงสนุกเหมือนอยู่ในห้องประชุม”
“ครึ่งปีหลัง เรามาเน้นกิจกรรมอันใหม่ มากกว่าอันเก่าดีไหมพี่”
“เราทำใบเสนอลูกค้าไป 5-6 อย่างเลยดีไหม เพราะมันคนละวัตถุประสงค์ เผื่อเขาสนใจเพิ่มขึ้น”

แต่อย่างไรก็ตาม คำถามเชิงลบก็ไม่ใช่ว่า ไม่สร้างสรรค์เลยซะทีเดียว
เพราะคำถามเชิงลบนี้ หลายกรณีเพื่อการตั้งรับ เตรียมพร้อม
เช่น “ถ้าทำการตลาดแบบนี้แล้วขายไม่ได้ล่ะ จะทำอย่างไร”
“ถ้าไตรมาสนี้ยอดขายตัวนี้ไม่เพิ่ม ไตรมาสถัดไปต้องทำอย่างไร”
“ถ้าลูกค้าเขายกเลิก เรามีวิธีจัดการยังไง”

 

meeting-1245776_640

 

การตัั้งคำถามเชิงบวก ของหัวข้อที่เราให้ความสนใจ เช่น
การขายครั้งใดที่ ยอดขายมากที่สุด
การผลิตครั้งใดไม่มีของเสีย หรือมีของเสียน้อยที่สุด
การสั่งงานครั้งใด ลูกน้องทำตามแผนที่ได้วางไว้ดีที่สุด

เมื่อมีคำถามเชิงบวก คำตอบเชิงบวกมักจะตามมาเองโดยอัตโนมัติ
แล้วหากมีการถามต่อๆ ไปด้วยคำถามเชิงบวก ยิ่งจะช่วย
ค้นหาสิ่งที่ดีที่สุด ที่อยากจะหาทางออกหรือ พัฒนาร่วมกัน

ผมเคยร่ำเรียนกับปรมาจารย์ของผม แล้วอาจารย์ก็ฝึกให้ลูกศิษย์คนนี้ไปลองถามผู้อื่น
ด้วยคำถามเชิงบวก
มีครั้งหนึ่ง ได้ความอย่างนี้ครับ
“ไปเปิดบูธครั้งไหนที่ทำให้ยอดขายสูงสุดครับ”
“ไม่รู้ ก็เหมือนๆ กันทุกครั้งนะ”
“แล้วมีครั้งไหนไหมครับ ที่ไม่ได้ไปออกบูธ แล้วขายได้ดีที่สุดครับ”
“ก็มีนะ วันยุ่งๆ ขายดี”
“แล้ววันนั้น แตกต่างจากวันอื่นๆ ยังไงครับ”
“ไม่รู้สิ บังเอิญมั้ง”
กับลูกค้าของผมเองครับ ดูเหมือนเขาก็อยากให้ผมช่วยนะ
แต่คำตอบนี่ ไม่ค่อยชักชวนให้ผมถามอะไรต่อเลย
กรณีนี้ เมื่อผมเอากลับไปเล่าให้อาจารย์ฟัง ปรากฎว่า อาจารย์ไม่ได้บอกว่า คำตอบของเขาผิด
แต่ผิดที่ คำถามของเรา ยังใช้ไม่ได้ ยังไม่ดีพอ ยังไม่สร้างสรรค์พอ
ผมจำคำนี้แจ่มแจ้ง ใช่ … ถ้าเขาตอบไม่ดี
แสดงว่า เรายังถามไม่ดีพอ เรายังมีประสบการณ์การถามไม่มากพอ
ผมทำยังไงน่ะเหรอ ก็ … ไปฝึกฝนมาใหม่สิครับ

วันเวลาผ่านไป
ยิ่งฝึกการตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์
ยิ่งเจอผู้ประกอบการ ผู้บริหารหลากหลายประเภท
คำถามของผมดูเหมือนจะดีขึ้นและทรงพลังมากพอนะ

กับลูกค้ารายเดิมนี้ พักหลังคุยกันถูกคอมาก หลังจากที่ผมค่อยๆ หาคำถามที่สร้างสรรค์และเฉียบคมมากขึ้น
เช่น “พี่เปิดบูธเจอลูกค้ารายไหนแปลกๆ น่าประทับใจมากๆ มีไหม”
เออ … ได้ผลแฮะ 
คำถามปลายเปิดที่เขาตอบได้เป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งทำให้นำมาขยายผลต่อดู
“ถ้างั้น ลูกค้าประเภทนี้น่าสนใจ และเราได้ข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของเรายังไง”

การตั้งคำถามปลายเปิดว่าเป็นเรื่องที่ยากแล้ว
แต่คำถามปลายเปิดที่สร้างสรรค์เป็นศิลปะที่ยากยิ่งกว่า
อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นจุดเล็กๆ ที่ช่วยพัฒนาองค์กรเพื่อสิ่งดีและดียิ่งขึ้น

คำถามที่ดีพออาจเป็นจุดเปลี่ยนเล็กๆ ที่ทำให้เกิดเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ขึ้นได้

Facebook Comments Box