Blog

Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (2)

Appreciative Inquiry  บทความนี้ ถูกคัดลอก และนำมาอธิบายซ้ำ
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND

https://www.gotoknow.org/posts/318053

 

ผมมีเรื่องเล่าดีๆ จากคำถามของคุณ Almon
เคยมีคำถาม เชิงการเรียนรู้ (ภาคต่อจากบทความก่อนหน้า)
ซึ่งมีคำถามว่า: “ที่คุณคิดว่า ทำงาน(เรียน)แล้วมีความสุขที่สุดในชีวิตที่ผ่านมา
เป็นอย่างไร เล่าให้ผมฟังหน่อย”

คุณ Oil ตอบ: “วันที่ทำงานแล้วมีความสุขที่สุดในชีวิตที่ผ่านมา
ตอนที่ออยได้มีโอกาสเข้าร่วมงานในสายงานบริหารของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งค่ะ
ตอนนั้นถือได้ว่าออยมีวัยวุฒิที่น้อยที่สุดในกลุ่มผู้บริหาร
แต่แล้วออยก้อผ่านงานตรงนั้นมาได้อย่างสวยงาม
เพื่อนร่วมงาน และคณะบริหารที่มีวัยวุฒิที่สูงกว่า
ยอมรับการทำงานของออยและเชื่อในการวางแผนงานแก้ไขปัญหาของออยค่ะ”

 

“การวางแผนงานของออยในครั้งนั้น มีโจทย์อยู่ว่าพนักงานกลุ่มหนึ่งมักมาทำงานสาย
พนักงานกลุ่มนี้เป็นคนเก่าแก่ของบริษัท
จึงมักได้รับผ่อนผันจากผู้บริหาร ทำให้พนักงานใหม่ท่านอื่น
ไม่พอใจและเกิดการนินทาซึ่งกันและกันในเรื่องดังกล่าว
ทำให้บรรยากาศการทำงานเต็มด้วยการจับผิดของแต่ละคน
และฟ้องผู้บริหารเป็นว่าเล่น จนไม่มีเวลาทำงานให้เกิดประโยชน์ของบริษัท

 

ออยจึงเสนอแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ คือ
“ให้กลุ่มพนักงานจำนวนห้าคนที่มาสายเป็นประจำนั้น
เป็นคณะกรรมการพิจารณาการปรับเบี้ยขยันให้พนักงานแต่ละคน
ทุกคนอาจสงสัยว่า แล้วได้ผลยังไง เหตุผลที่ออยเสนอนั้นคือ
หนึ่ง กลุ่มพนักงานเหล่านี้มีอายุงานที่นานมาก
ถือได้ว่าเป็นคนเก่าแก่ของบริษัท อายุก็มาก
ครั้นจะใช้วิธีว่ากล่าวอบรมเมื่อเก่าก่อนก้อไม่ได้ผล
แต่ถ้าเราให้เค้าเข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบพฤติกรรมพนักงานในเรื่องที่พวกเขาถนัด (มาสายประจำ)
พวกเขาจะมีประสบการณ์มากกว่า และ
สอง คือ พวกเขาจะซึมซับกฏระเบียบของบริษัททุก ๆ วัน
จนกระทั้งพาตัวของพวกเค้าเองเข้าไปอยู่ในกฏระเบียบนั้น ๆ

 
สรุปผลจากการทดลองในการวางแผนแก้ไขปัญหาเล็กๆ น้อย ดังกล่าว
เป็นไปในทางบวก จนกระทั้งครบระยะเวลาสองเดือน
ไม่ปรากฏการมาสายของพนักงานกลุ่มดังกล่าวเลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ พนักงานท่านอื่น ๆ ก็มองเห็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มตนดังกล่าว
และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
เนื่องจากจิตใจไม่ได้จดจ่อที่จับผิด และตำหนิกลุ่มคนดังกล่าวอีกเลยค่ะ

 

เรื่องนี้เสนอโดยคุณออย ประธานเครือข่าย AI เชียงใหม่ครับ
เป็นประโยชน์อย่างไร หรือใครมีประสบการณ์คล้ายกันเล่ามาให้ฟังด้วยครับ

 

Facebook Comments Box