การพัฒนาองค์กรผ่านมุมมอง อริยสัจ ๔

โดย วชิราพร ชัยวรมุขกุล (เจ)  Tel. 089-712-7172
ดร.นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล (อ.ม่อน) Tel. 080-419-8224
clubpattana@hotmail.com

 

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน ช่วงที่ผ่านมาผมมีโอกาสจัดหลักสูตร
ในหัวข้อที่เกี่ยวกับ องค์กร ปัญหา ๆ  ๆ  ๆ   บลาๆ
ไม้พ้นเรื่องของคน พอมีเรื่องคน ก็ไม่พ้นเรื่องปัญหา
มักมาเป็นของคู่กันครับ
(อย่างที่เคยบอกไว้ในบทความหนึ่งว่า  ไม่มีองค์กรใดที่ไม่เจอปัญหา)

ในสมัยที่ผมเรียนปริญญาโท โมเดลของ Appreciative Inquiry  (AI)
คือ การค้นหาสิ่งดีๆ ด้านบวก แล้วนำสิ่งนั้นไปขยายผลต่อ ฟังดูเหมือนศาสตร์ปั้นน้ำเป็นตัว
ซึ่งตอบว่าใช่ … มันสวยหรู ดูดี แต่ที่สำคัญ …. จับต้องได้ด้วยครับ
แต่ว่า … ผมก็มาค้นพบและถามอาจารย์ของผมผู้ซึ่งรู้เรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง
ก็ได้ความว่า AI นี้ จำเป็นต้องอาศัยอีกหลากหลายเครื่องมือ มาช่วยจับ
แต่ AI เป็นตัวเสริมเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

 

 

4d

 

 

ครั้งหนึ่งในองค์กรหน่วยผลิตยา เภสัชกรคนหนึ่ง
นำ AI  ไปจับคู่กับศาสตร์ของ Quality Management แล้วทำให้ได้ผล success ขึ้นในการแก้ไข

ในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริการ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ลองใช้ AI ไปร่วมกับเครื่องมือที่ชื่อ world cafe และวง dialogue
นำโปรเจคที่ได้มาขยายผลต่อ ทำให้เกิดเรื่องราวดีๆ ขึ้นมาก แฮปปี้มากครับ

เบื้องลึกเบื้องหลัง ในกระบวนการ AI ซึ่งเราเรียกว่า
4D Model คือ ขั้นตอนในการทำ ได้แก่
Discovery   Dream  Design   Destiny  วิธีการที่ง่ายที่สุดที่ใช้ทำ
กระบวนการ  AI คือ สังเกตเชิงบวก ตั้งคำถามเชิงบวก  และสัมภาษณ์เชิงบวก

 

เด็กๆ ปริญญาโทที่ศึกษา AI ล้วนแล้วแต่เป็นประเภทต้องส่งรายงานเชิงคุณภาพ
และเมื่อผมช่วยตรวจทานดูให้อีกที แทบไม่พบผู้ที่ทำวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก
(จะมีก็พอมีบ้างเล็กๆ น้อยๆ)
แต่งาน AI สำคัญตรงที่ คุยเยอะๆ สำรวจเยอะๆ พูดเยอะๆ แล้วจะได้อะไรที่มากกว่า
(เพราะผมก็เคยเป็นศิษย์รุ่นแรกๆ ของ AI เหมือนกัน)

 

 

              background-916223_640
อันที่จริง ขั้นตอนของ  AI ไม่ใช่แค่ละม้ายคล้าย
แต่เรียกว่า เหมือน และไม่แตกต่างจาก อริยสัจ๔   ที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้

Discovery   =   ทุกข์

Dream  =  สมุหทัย

Design  =   นิโรธ

 Destiny   =  มรรค

 

Discovery   –  ทุกข์คือ อะไร  ทุกข์คือปัญหา ปัญหาทำให้ทุกข์
ซึ่งการ discovery คือการสืบค้น ในที่นี้เอามาประยุกต์ในองค์กรคือ จำเป็นต้องเชิงบวก
(ต่อให้ไม่มีปัญหา ก็สามารถใช้  discovery ค้นหาสิ่งที่ดีอยู่แล้วไปทำให้ดียิ่งขึ้นได้อีก)
Dream  – สมุหทัย  คือ ต้นเหตุแห่งทุกข์ การฝันบวก เสมือนทำให้เราตั้งต้นที่จะฝันว่า
อยากเห็นองค์กรเป็นอย่างไร ภาพที่เห็นนั้นเป็นจริงได้ไหม ไปถึงได้ไหม
และควรออกมาให้เป็นรูปธรรม

Design  –  นิโรธ  คือ การดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้าโศกทั้งหลาย
ซึ่ง ตรงตามตัวว่า ดีไซน์ออกแบบให้องค์กรแก้ไขปัญหา
หรือพัฒนาขึ้นด้วยวิธีใด ลำดับขั้นตอนเป็นอย่างไร

ซึ่ง ขั้นการ design นี้สำคัญ และปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา  (การปั้นบวก)
Destiny   –  มรรค  คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์  แต่ในทาง  AI เราจะมองว่า การทำบวก
ทุกอย่างจะ สำเร็จ 100% ถ้าลงมือทำ

 

หนังสือ AI  ที่ผมเขียนขึ้นผมจะบอกผู้คนเสมอว่า
จะทำให้คนอื่นพัฒนาได้
ทีมงานขของเราต้องพัฒนาก่อน
แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น
ตัวเราเองพัฒนาแล้วหรือยัง

ผมเองก็พยายามทำสิ่งที่ผมเขียนอยู่อย่างต่อเนื่อง
มิเช่นนั้น จึงไม่หาญกล้าไปบอกผู้อื่น

อย่างน้อยๆ เช่นเรื่องงานที่ปรึกษา และการโค้ช
การค้นบวก ฝันบวก ปั้นปวก และทำบวกนี้
ช่วยเปลี่ยนตัวผมให้เป็นคนคิดบวกอยู่เสมอ
(แต่เลือดบวก ผมไม่เอานะครับ)

 

ลองดูนะครับ ลองง่ายๆ กับการพัฒนาตัวเองด้วยวิธี
อริยสัจ๔   หรือ 4D model ดูก่อน
แล้วคุณจะเห็นผลจริงๆ ครับ

Facebook Comments Box