รองเท้า การตัดสินใจ และองค์กรแห่งการเรียนรู้

Appreciative Inquiry บทความนี้ ถูกคัดลอก และนำมาอธิบายซ้ำ
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND

 

https://www.gotoknow.org/posts/322600

 

ผมเองเคยเจอผู้ประกอบการนักศึกษาปรึกษาว่า “อาจารย์จะทำยังไงดี”
“ผม/ดิฉันควรเริ่มต้นอย่างไร” “จะทำอย่างไรดี”
อันนี้เป็นเรื่องของความลังเลครับ ทำอย่างไรเราจะกำจัดความลังเลได้ครับ
คำตอบคือต้องมีวิธีกำจัดมันครับ ข้อเสนอของผมคือลองเรียนรู้จากปรมาจารย์นักคิดคือ
Dr. Edward De Bono ครับ ท่านบอกว่าให้ลองเปรียบเหมือนเราใส่รองเท้าครับ
ก่อนจะออกจากบ้าน หรือตัดสินใจลองเลือกประเภทของรองเท้าก่อนครับ
ท่านเสนอกลยุทธ์การคิดโดยเปรียบเทียบกับรองเท้าหกสีครับ ท่านเรียกว่า Six Action Shoes มีดังนี้ครับ

 

six actionshoes

 

1. รองเท้าสีน้ำเงิน (ทำไปตามกฎเกณฑ์ และขั้นตอน) กฏเกณฑ์
ขั้นตอนดีๆบางทีก็มีประโยชน์ นักคิดศึกษากฎเพื่อ “แหกกฏ”
หรือบางครั้งก็ทำให้ชีวิตราบรื่นครับ เฃ่นขับรถก็อย่าฝ่าไฟแดง
ชีวิตจะซับซ้อนน้อยลงเยอะครับ มีกฏอะไรทำตามไปก่อนครับ
ช่วยให้ชีวิตราบรื่นมีเวลาไปทำอะไรสำคัญๆได้เยอะครับ
ก่อนให้คำปรึกษา AI กับผู้ประกอบการ ผู้บริหาร เราต้องถามกฏระเบียบ ขอบเขตซะกอ่น
รู้ไว้ จัดการเรื่องขอบเข ทำให้สามารถทำงานได้ราบรื่นครับ

 

2. รองเท้าสีเทา (สำรวจหาข้อมูล เพื่อตัดสินใจก่อน) บางครั้งไม่แน่ใจก็ค้นหาข้อมูลก่อน
เช่นคนทำวิจัยก็ดูงานของคนอื่นมากก่อน ผมมีญาติเก่งภาษาอังกฤษ อยู่อเมริกา
เล่าให้ผมฟังว่าเขากำลังแปลหนังสือเกี่ยวกับมะเร็งเล่มหนึ่ง ดีมาก
แล้วถามผมว่าควรจะติดต่อสำนักพิมพ์ที่ไหนในเมืองไทยดี
ผมต้องบอกท่านไปด้วยความเกรงใจว่า หนังสือเล่มนี้ในเมืองไทยพิมพ์ไปแล้วครับ เอวัง

 

3. รองเท้าสีน้ำตาล (ทำเลย ลุยเลย เสี่ยงไปก่อน แต่ยืดหยุ่น) อันนี้คล้ายๆผู้ประกอบการ
ตอนตั้ง AI THAILAND (www.aithailand.org) ผมก็ลุยเลยไม่รู้จะทำยังไง
ก็ตั้งไปเลยครับ บางครั้งคุณก็ต้องลุย
รอจนแน่ใจก่อนก็ไม่ต้องเกิดพอดี ไม่ต้องทำมาหากินอะไรรพอดี

 

4. รองเท้าสีส้ม (คล้ายๆนักผจญเพลิง เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า) อั
นนี้เป็นกรณีๆไปครับ ชาวชุมชนบางคนอยู่ดีๆก็ถูกโปรโมทให้อยู่ในตำแหน่งสูงขึ้น
AI Project เคยทำกันในแผนกแค่ 10 อยู่มาวันหนึ่งนายสั่งให้ทำทั้งโรงงานทีเดียว 1,000 คนก็มี
อันนี้ต้องเร่งคุย เร่งวางแผนด่วนเพื่อกระบวนการปรับเปลียนที่ราบรื่นทันทีครับ

 

5. รองเท้าสีชมพู (ต้องให้การเอาใจใส่ ดูแล สนใจความรู้สึกก่อน)
ผมเคยมีชาวชุมชน มีปัญหาครอบครัว คุณพ่อเสียชีวิต
อันนี้ไม่ต้องเร่งอะไรเขา สิ่งที่ต้องทำคือความเห็นอกเห็นใจ
ช่วยเขาให้พ้นทุกข์เฉพาะหน้าไปก่อน

 

6. รองเท้าสีม่วง (ใช้อำนาจตามตำแหน่ง หรือสายบังคับบัญชา หรือภาวะผู้นำแบบทางการ)
แต่ละคนมีอำนาจครับ เราสามารถใช้อำนาจในตำแหน่งเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคมได้
คนเป็นอาจารย์สามารถพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อประโยชน์ของสังคมได้ไม่ยาก
เพราะมีโอกาส มีตำแหน่งเอื้ออยู่แล้ว

 

 

เล่าให้ฟังเรื่องการตัดสินใจที่ work ที่สุดให้ฟังหน่อยครับ
ที่สำคัญในองค์กรแห่งการเรียนรู้ เราต้องเรียนรู้วิธีการลดความสับสน
ในการตัดสินใจให้คนในองค์กรด้วยครับ

Facebook Comments Box