มัมมี่เลนิน และองค์กรแห่งการเรียนรู้

Appreciative Inquiry  บทความนี้ ถูกคัดลอก และนำมาอธิบายซ้ำ
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND

https://www.gotoknow.org/posts/321110

 

การเรียนรู้มีอะไรแปลกๆ ให้เราได้ทึ่งเสมอครับ
วันหนึ่งหลังจากที่ เลนิน ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียตเดิมถึงแก่แอสัญกรรมลง
พรรคคอมมิวนิสต์ได้สังการให้คณะนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง “ดอง” ท่านผู้นำ
Spec ที่กำหนดให้ก็โหดสุดขีดคือ “ต้องดูราวมีชีวิต” และ เป็น “อมตะ” ตลอดไป
ลองคิดดูนะครับนี่คือเหตุการณ์ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองครับ (เกือบ 70 ปีแล้ว)

 

พวกนักวิทยาศาสตร์สติแตกอยู่พักหนึ่ง หลังจากนั้น ก็ต้องเริ่มคิดแล้วครับ จะทำยังไง
ต้นแบบอย่างเดียวในตอนนั้นก็คือ มัมมี่อียิปต์ ซึ่งลุ่ยไปหมดแล้ว
ครั้นจะไปดูงานที่ประเทศอื่นก็ไม่มีใครทำมาก่อน

 

ทำยังไงครับก็ต้อง “ลองผิด ลองถูก (แต่ห้ามผิด)” ครับ
ทำยังไงครับ ก็เลยต้องหาร่างของคนอื่นที่รับบริจาคมาก่อนหน้า มาทดลอง
ร่างนี้มีสภาพคล้ายท่านเลนินทางสรีรศาสตร์มาก
ก่อนที่จะอะไรกับท่านเลนินไป กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จะต้องทดลองกับร่างนี้ก่อนครับ
ผลออกมา ก็ได้ผลดีครับ

 

lenin-155794_1280

 

ถ้าดูในสารคดีจะพบว่าร่างท่านดู “สง่า” ใน 60-70 ปีให้หลังครับ
หลังม่านเหล็กล่มสลาย คนส่วนใหญ่เรียกร้องให้รัฐบาลเลิกสนับสนุนหลุมฝังศพมีชีวิตแห่งนี้ซะ
และเอาไปฝังเสียที (ผมไม่ทราบว่าปัจจุบันเอาไปฝังหรือยัง)
แต่ตอนที่ผมดูสารคดีเรื่องนี้ หลุมศพท่านผู้นำแห่งนี้เริ่มเกิดวิกฤติกาล เรื่องงบประมาณ
ในขณะเดียวกันกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในหลุมศพแห่งนี้
ก็ไม่รู้จะไปทำงานที่ไหนอีก จึงเริ่มคิดทำธุรกิจขึ้นมา
หลุมศพแห่งนี้จึงรับ “ดอง” คนรวยแทนครับ ผลปรากฎว่า
มีคนจ้างสถาบันแห่งนี้ไปดองศพแบบเลนินมากครับ
เพราะเขาทำได้ดีที่สุดในโลก
ไม่มีที่ไหนในโลกมีเทคโนโลยีเทียบเท่าที่นี่อีก
จึงสามารถมีเงินพอเลี้ยงตัวได้

 

เรื่องนี้เอาไปใช้ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไรครับ
ถ้าเราถอดรหัสเรื่องนี้ออกมาเราจะพบสาระสำคัญสองเรื่องคือ
1.Extreme Vision หรือวิสัยทัศน์ที่ก้าวล้ำยุคสมัย คิดไกลไว้สุดๆ ตั้งSpec โหดๆครับ
ในเรื่อง KM เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า Externalization คือการดึงความรู้ออกมาโดยการตัดแนวคิด/วิสัยทัศน์นอกกรอบ

 

2. อีกอันหนึ่งคือ Extreme Experimentation อันนี้จะเห็นว่าเขาทดลองครับ
ต้องทดลอง ลองผิดลองถูกกับตัวเองก่อนครับ
เพราะไม่รู้จะไปเรียนรู้จากไหน
ขั้นตอนหลังภาษา KM เรียกว่า
การ Internalization หรือ Learning by Doing

 

 

ลองตั้งเป้าหมายแรงๆดูสิครับ และทดลองมากๆ เราจะรู้อะไรแบบไม่น่าเชื่อเลยครับ  

คิดธรรมดา การกระทำก็ธรรมดา ผลก็ธรรมดา

คิดไม่ธรรมดา การกระทำก็ไม่ธรรมดา ผลก็ไม่ธรรมดา

Facebook Comments Box