ค้นหาและพัฒนาคนให้เก่งด้วย AI

Appreciative Inquiry  บทความนี้ ถูกคัดลอก และนำมาอธิบายซ้ำ
เครดิต ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AITHAILAND
Appreciative Inquiry 

ครั้งหนึ่งเมื่อมีการคุยกันก่อนจะเริ่มโครงการ Appreciative Inquiry โครงการหนึ่ง
ผู้สนใจท่านนี้สนใจจะใช้ AI มาวางแผนกลยุทธ์ให้สำนักวิจัยทางการแพทย์แห่งหนึ่ง
หนึ่งใน mission ของที่นี่คือได้นักวิจัยที่สร้างผลงานได้มากๆ และเก่ง

เขาเลยถามผมว่า AI มันทำยังไงอาจารย์
ผมเลยว่ามาทดลอง Discovery กัน
ก่อนอื่นผมก็เล่าแนวคิด AI คร่าวq ว่า เป็นการค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดหรือพลังที่ซ่อนเร้นในองค์กร (What work)
แล้วเอามาขยายผล  ผมเลยบอกเขาว่า
“คุณลองนึกถึงคุณหมอที่เป็นนักวิจัยที่เก่งที่สุดเท่าที่คุณเห็นมาสิ คุณทำงานที่นี่มาเกือบ 20 ปีแล้ว”
“เขาเป็นคนที่สร้างผลงานในระดับสากล ตามเสป็กที่คุณต้องการนั่นแหละ”

ในที่สุดเราก็ได้ชื่อศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง ท่านอายุไม่มาก
เขาบอกว่ารู้จักอาจารย์ท่านนี้ตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์ครับ
ผมเลยซักต่อว่าศาสตราจารย์ท่านนี้ต่างจากเพื่อนในรุ่นเดียวกันหรือไม่
เขาตอบว่าต่างครับ ตอนเรียนเฉพาะทาง ท่านกระตือรือร้นเรื่องเทคนิคมากครับ
ชอบหาโอกาสทดลองวิธีการใหม่ๆ
ผมถามต่อแล้วกลไกใดที่เปลี่ยนท่านมาเป็นนักวิจัย
จนท่านกลายเป็นศาสตราจารย์ในปัจจุบัน
เขาบอกหลักสูตรระบาดวิทยาค่ะ

 

ai-book-18

 

ผมซักถามต่อ
แล้วตอนนี้เท่าที่คุณสัมผัสแพทย์ที่กำลังเรียนเฉพาะทาง
มีใครมีนิสัยคล้ายๆศาสตราจารย์ท่านนี้ไหม
“มีค่ะ”
“แล้วชี้ตัวได้มั้ย”
“ได้ค่ะ”
ผมเลยสรุปเขาว่านี่ล่ะ AI เรื่องนี้สามารถขยายผลได้ กล่าวคือ
“ร่วมกันระบุคนที่มีบุคลิกคล้ายศาสตราจารย์เจ๋งๆ
(ศาสตราจารย์ที่ยังมันส์กับวิจัยแม้เป็นศาสตราจารย์ไปแล้ว)
นำเข้ามาสู่กลไกการเรียนระบาดวิทยา”
ที่สำคัญน่าไปสัมภาษณ์ท่านอาจารย์ท่านนั้นถึงจุดเปลี่ยนว่า
“วินาทีใดที่ท่านเปลี่ยนเข็มมุ่งมาทำวิจัยจนสำเร็จขนาดนี้”
นี่จะได้ข้อมูลชัดมากขึ้นครับ

 

จากนั้นเข้าจะได้แผนที่ดีมากแผนหนึ่งในระยะเวลาไม่นานครับ
นี่ละครับการวางแผนแบบ Strength-based planning
ภายหลังผมมักใช้การถามแบบนี้เวลาทำ Workshop หรือ KM
ช่วงการทำ Destiny มักถูกบอกจากผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า  “ชอบตอนนี้มากที่สุดครับ”

 

ท่านที่เคยวางแผนโดยใช้ AI แล้ว Work ช่วยเล่าประสบการณ์ให้พวกเราด้วยครับ

Facebook Comments Box