กล่าวคือ ท่านเคยคุยกับผู้ประกอบการโรงน้ำแข็งที่ทำ AI project ด้วยกัน
แล้วทำ Discovery ไปจนกระทั่งขยายผลได้จนจบ สิ่งที่เขาถามอาจารย์ คือคิดว่าสิ่งที่เขาทำ มันจบหรือยัง
เพราะทุกอย่างเขาก็คิดเป็น Positive เป็นโอกาสอยู่แล้ว
นับเป็นคำถามที่ดีมากๆ ค่ะ  เวลาใครทำ AI ไปนี่จะรู้สึกว่าเอ๊ะมันคุ้นๆ นี่ต้องตอบว่าใช่
แต่ถามว่างานจบหรือยัง อาจารย์เลยถามเล่นภาษาคนคุ้นเคย
เพื่อให้เขาตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อหรือไม่ด้วยคำถามว่า

“คุณทำงานวันละกี่ชั่วโมง”

เจ้าของโรงงานนำแข็งบอกว่า “12 ชั่วโมง”
ส่วนเพื่อนก็แซวว่า “มากกว่านั้นนะ”
อาจารย์เลยถามว่า “ทำไมไม่ 6 ชั่วโมงล่ะ”
ทำไมไม่ทำงานให้มากกว่าเดิม แต่มีเวลาเหลือมากกว่าเดิมล่ะ

 

ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนคนมามากโดยเพาะป.โท MBA
สิ่งที่ค้นพบคือ ในบางอาชีพ กลับไม่เคยเห็นคนบางอาชีพไปนั่งพักผ่อน ดูลูกเล่นกัน หรือมีเวลาว่างมากพอ
เจ้าของโรงน้ำแข็งกลับเล่าให้ฟังว่า เป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้ว
ผู้บริหารแกสร้างตัวมาอย่างนี้ ไม่มีอะไรทำก็จะอยู่ไปเรื่อยๆแล้วก็กลับสัก 2 ทุ่ม

ย้อนกลับไปเคสดังกล่าว
AI สอนว่า สิ่งที่คุณต้องทำงานมากขนาดนี้เพราะคุณต้องควบคุมทุกอย่างเอง
ทั้งการเงิน คนลามาสาน คุณต้องดูแลเอง ควบคุมตารางการทำงานเอง
นี่สะท้อนว่าคุณต้องทำอะไรเพิ่ม

 

เป้าหมายคือ “อิสระภาพ”

 

ตรงนี้นำมาสู่ Dream คือ ทำงานได้ผลมากกว่าเดิมและมีเวลาให้ครอบครับมากขึ้น
หน้าที่ของเจ้าของโรงน้ำแข็ง คือวางแผนพัฒนาระบบ
พัฒนาคนที่จะทำให้เขาทำงานได้ง่ายขึ้น (Design)
ส่วน Destiny ต้องคัดคนที่ work ต้องเปลี่ยนๆ ต้องประเมิน (Destiny)

สำหรับในแง่อาจารย์
การ Coach ครั้งนั้นทำให้ได้คำว่า อิสระภาพ  มาเป็นตัวตั้งในการสร้างเป้าหมาย
เรื่องนี้ work มาก ฉะนั้นเวลาโค้ชผู้บริหารที่คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จอยู่แล้ว
และทำได้ดีอยู่แล้ว
พอพูดอย่างนี้จะได้ผลมากกว่า
และยิ่งเจอมากขึ้นทุกวัน
คือผู้บริหารจำนวนมาก ที่ประสบความสำเร็จ แต่ชีวิต ไม่สมดุลกัน
กล่าวคือ การทำงานเบียดเบียนคุณภาพชีวิต ตนเอง ครอบครัว

ในมุมมองของ  AI
เป้าหมายการทำ AI, Km และ LO
ก็คือองค์กรมีอิสรภาพ คนมีอิสรภาพ ครอบครัวของผู้บริหารและ
ลูกน้องมีความสุข ลูกค้าและสังคมก็จะมีความสุขด้วย